30 กันยายน 2558
รายงานการศึกษาวิเคราะห์กระบวนการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมอาหาร
โครงการ เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน(Max-U)
เรื่อง การจัดผังโรงงานตามการไหลของผลิตภัณฑ์ (Plant Layout for Product Flow Process)
กิจกรรมภายใต้โครงการพัฒนาศูนย์สารสนเทศเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร ปี 2558
รายงานการศึกษาวิเคราะห์กระบวนการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมอาหาร
ในปัจจุบันสภาพโดยทั่วไปของกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารขนาดกลางและขนาดเล็กในประเทศ มักจะประสบปัญหาคล้ายคลึงกันคือ ระบบการบริหารการจัดการเป็นแบบระบบครอบครัว โดยมีอานาจการตัดสินใจเป็นแบบรวมอานาจทั้งหมดไว้ที่เจ้าของกิจการเพียงผู้เดียว เจ้าของกิจการจะเป็นผู้ดูแลการบริหารงานภายในองค์กร การตลาด การผลิต และการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ส่งผลให้เจ้าของกิจการไม่สามารถดูแลทุกส่วนภายในองค์กรได้อย่างทั่วถึงและไม่มีประสิทธิภาพตามสมควร การออกแบบและวางผังโรงงานไม่เหมาะสมต่อกระบวนการผลิตทาให้การผลิตมีความล่าช้าและระยะทางการผลิตยาวมาก ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของความสูญเปล่าทั้ง 7 ประการ (7-Wastes)
โรงงานที่มีการวางผังที่ดีย่อมจะได้เปรียบหลายๆ ด้าน เพราะยังผลถึงความประหยัดค่าใช้จ่ายในการดาเนินงาน ใช้พื้นที่ได้คุ้มค่า เกิดความปลอดภัย กระบวนการผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเป็นข้อดีหรือเป็นประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีก เช่น
1.1.1 ลดระยะทางและเวลาการเคลื่อนย้ายวัสดุ
1.1.2 ช่วยทาให้วัตถุดินไหลไปได้รวดเร็ว และราบรื่นพร้อมทั้งขจัดปัญหาเกี่ยวกับการทางานที่มีมากเกินไป
1.1.3 เพื่อสะดวดในการดาเนินงาน โดยแบ่งเนื้อที่ภายในโรงงานให้เหมาะสม เช่น ช่องทางเดินพื้นที่เก็บสินค้า พื้นที่พักวัตถุดิบและจุดปฏิบัติงาน หรือพักชิ้นงานที่เป็นสินค้าสาเร็จรูป
1.1.4 ขจัดสิ่งรบกวน การสั่นสะเทือนของพื้นที่ ฝุ่นละออง ความร้อน กลิ่น การถ่ายเทอากาศ เป็นต้น
1.1.5 จัดแผนงานต่างๆ ให้ทางานในกรอบความรับผิดชอบชัดเจน ให้เอื้อต่อกระบวนการผลิต และง่ายต่อการควบคุม
1.1.6 จัดวางพื้นที่ให้ใช้มีประโยชน์อย่างเต็มที่ ไม่ควรให้มีพื้นที่ว่างเปล่า หรือสูญเปล่ามากเกินไป
1.2 การวางผังโรงงาน
การวางผังโรงงาน (Plant Layout) หมายถึง งานหรือแผนการในการติดตั้งเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และวัตถุต่าง ๆ ที่จาเป็นในกระบวนการผลิต ภายใต้ข้อจากัดของโครงสร้าง และการออกแบบของอาคารที่มีอยู่ เพื่อทาให้การผลิตมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยสามารถแบ่งประเภทการวางผังโรงงานได้ 3 รูปแบบ คือ
1.2.1 ผังตามกระบวนการผลิต (Process Layout) เป็นการวางเครื่องจักรให้เป็นหมวดหมู่ตามลักษณะของกระบวนการผลิต เช่น เครื่องตัด เครื่องปั๊ม เครื่องบรรจุหีบห่อ การวางผังตามกระบวนการนี้ สินค้าที่ผลิตจะต้องเคลื่อนย้ายไปตามกระบวนการต่างๆ ตามขั้นตอนในการผลิตสินค้านั้น ซึ่งเหมาะสาหรับการผลิตประเภทไม่ต่อเนื่องหรือการผลิตตามคาสั่ง