สวัสดี

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) กิจกรรมที่ 2 เรื่อง แนวทางการสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ (Strategic Alliance) ของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มไทยกับคู่ค้าในเวียดนาม โครงการพัฒนาศูนย์สารสนเทศอัจฉริยะอุตสาหกรรมอาหาร เสนอต่อ สานักงานเศรษฐกิจอุตสาหก

แชร์:
Favorite (38)

30 กันยายน 2558

ปัจจุบัน สภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ปัจจัยที่เคยเอื้อต่อการค้าการลงทุนใน
ภาคอุตสาหกรรมอาหารของไทยเริ่มส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจจนกลายเป็น
อุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ เช่น ต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ทั้งในด้านราคาวัตถุดิบ ต้นทุนการขนส#ง
แรงงานในสายการผลิตขาดแคลน เป็นต้น การแข่งขันจากประเทศคู่แข่งทวีความรุนแรง พฤติกรรมผู้บริโภค
ปรับเปลี่ยนไปจากเดิม อำนาจต่อรองกับช่องทางการกระจายสินค้าลดลง รวมทั้งมาตรการต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต#อ
การค้าในประเทศเป้าหมาย ปัญหาอุปสรรคเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยจนอาจทำ
ให้สูญเสียส่วนแบ่งการตลาด หรือสูญเสียโอกาสในการเข้าสู่ประเทศเป้าหมาย
การจัดทำพันธมิตรเชิงกลยุทธ5 (strategic alliance) เป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่นำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการเพิ่ม
ขีดความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากเป็นการสร้างความร่วมมือของธุรกิจ /องค์การตั้งแต่สองธุรกิจ /องค์การขึ้น
ไป เพื่อกำ หนดเป้าหมายที่สำคัญร่วมกันในการลดปัญหา อุปสรรค และสร้างโอกาสทางการค้า และเป็น
กระบวนการที่โดยเฉพาะธุรกิจขนาดย่อมหรือ SMEs ควรต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การ
ลดต้นทุนทางการค้า การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการตลาด รวมถึงการพัฒนาธุรกิจใหม่ เกิดการแลกเปลี่ยน
และแบ่งปันทรัพยากรความสามารถเพื่อที่จะพัฒนาสินค้าหรือบริการร่วมกัน รวมทั้งสนับสนุนการตลาดที่มี
ประสิทธิภาพผ่านทางผู้กระจายสินค้า เป็นต้น

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3122
โทรสาร : 02-4228527