17 กุมภาพันธ์ 2559
ชื่อเรื่อง: สถานภาพการผลิตและการปรับปรุงกรรมวิธีการผลิตมะตูมเชื่อม
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง: นาย ภาษิต มารยาตร์
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา: รศ. จินตนา อุปดิสสกุล
ที่มา: วิทยานิพนธ์เรื่อง สถานภาพการผลิตและการปรับปรุงกรรมวิธีการผลิตมะตูมเชื่อม ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม: สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
กลุ่มสินค้า: 1513 ผลิตภัณฑ์ผัก และผลไม้
เทคโนโลยี: การแปรรูปโดยใช้ความร้อน
Keyword: มะตูม เชื่อม อนุรักษ์ เก็บรักษา สุญญากาศ
สถานภาพการผลิตและการปรับปรุงกรรมวิธีการผลิตมะตูมเชื่อม
มะตูมเชื่อม เป็นผลิตภัณฑ์พื้นบ้านชนิดหนึ่งที่ในปัจจุบันมีการผลิตลดลงเนื่องจากคนรุ่นใหม่ไม่ได้รับการสืบทอดด้านการผลิตและการบริโภค ดังนั้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์การผลิตและทำให้ผลิตภัณฑ์มะตูมเชื่อมเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน รวมถึงเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทย งานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาถึงสถานภาพการผลิตและการตลาดของมะตูมเชื่อม กรรมวิธีการผลิตที่สะอาด คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ การยอมรับของผู้บริโภคและอายุการเก็บรักษาของมะตูมเชื่อม
จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของมะตูมเชื่อมดังกล่าว พบว่า มีปริมาณของ ความชื้น, โปรตีน ไขมัน, เถ้า และใยอาหาร ร้อยละ 21.21, 0.02, 0.21, 0.42 และ 10.96 ตามลำดับ ปริมาณของแข็งที่ละลาย- น้ำได้ ร้อยละ 77.58 จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด น้อยกว่า 10 CFU/g ปริมาณยีสต์และรา น้อยกว่า 100 CFU/g
จากการสำรวจการยอมรับของผู้บริโภค พบว่าจำนวนผู้บริโภคที่ยอมรับในตัวผลิตภัณฑ์สูงถึง 94% และ 18% มีความยินดีที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นของฝาก และรับประทานเอง
และจากการศึกษาถึงอายุการเก็บรักษา พบว่ามะตูมเชื่อมที่เก็บรักษาในภาชนะ Polystyrene ห่อหุ้มด้วยฟิล์มหด PVC และภาชนะแบบถุง nylon/DLL/LDPE ปิดผนึกแบบสุญญากาศ เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง (28-300ซ.) และที่อุณหภูมิห้องเย็น (40ซ.) สามารถเก็บได้นานถึง 4 และ 12 สัปดาห์ ตามลำดับ