สวัสดี

การพัฒนาเครื่องปอกเปลือกผลมะพร้าวอ่อน

แชร์:
Favorite (38)

17 กุมภาพันธ์ 2559

ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเครื่องปอกเปลือกผลมะพร้าวอ่อน

ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง: นายณัฐพงศ์ รัตนเดช

คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา: รศ.ดร.บัณฑิต จริโมภาส

ที่มา: วิทยานิพนธ์เรื่องการพัฒนาเครื่องปอกเปลือกผลมะพร้าวอ่อน สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี 2547

แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม: ห้องสมุดสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร

กลุ่มสินค้า: 1513 ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้

เทคโนโลยี: เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว

Keyword: เครื่องปอกเปลือก มะพร้าวอ่อน ผลมะพร้าว

การพัฒนาเครื่องปอกเปลือกผลมะพร้าวอ่อน

มะพร้าวอ่อนเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหาร ที่ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส และอื่นๆ นิยมใช้ประกอบอาหารคาวหวาน เป็นพืชที่ปลูกง่ายจึงเป็นที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศไทยและให้ผลผลิตตลอดทั้งปี มะพร้าวอ่อนที่นิยมปลูกมี 2 พันธุ์คือ พันธุ์น้ำหอม และพันธุ์หมูสี ซึ่งพันธุ์น้ำหอมเป็นที่นิยมของชาวต่างชาติมากจนสามารถส่งออก และนำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นอย่างมาก โดยมะพร้าวอ่อนสดที่ส่งออกจะถูกปอกเปลือกและบรรจุในกล่องกระดาษกล่องละประมาณ 9-10 ผล แต่การปอกเปลือกสีเขียวออกและเกลาเป็นทรงห้าเหลี่ยมเพื่อจำหน่ายต้องใช้เวลาและแรงงานที่ชำนาญมาก และเสี่ยงอันตราย ดังนั้นการพัฒนาเครื่องปอกเปลือกผลมะพร้าวอ่อน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อเกษตรกรผู้ผลิตมะพร้าวอ่อนจำหน่าย เพราะจะสามารถช่วยลดต้นทุนและเวลาในการผลิตได้

การพัฒนาเครื่องปอกเปลือกผลมะพร้าวอ่อนได้ทั้งผล เริ่มต้นจากการออกแบบ สร้าง ทดสอบ และประเมินผลประสิทธิภาพของเครื่องปอกเปลือก ซึ่งเครื่องต้นแบบประกอบด้วย

1. ชุดกำลัง ได้แก่ มอเตอร์ขนาด 1 แรงม้า 1 เฟส 50 1เฮริ์ต 220 โวลท์ สายพานร่อง B เพลาต้นกำลัง และพูเล่ย์

2. ชุดปอกผลมะพร้าว ประกอบด้วย ชุดใบมีดปอกลำตัวผล ชุดใบมีปอกยอดผล ชุดใบมีดตัดก้น และชุดจับยึดผลมะพร้าว

จากการทดสอบ 5 การทดสอบย่อยคือ 1) การทดสอบปอกเปลือกผลมะพร้าวอ่อนในส่วนของการปอกลำตัวผล พบว่า ผลมะพร้าวเกิดรอยช้ำ 2.38% และเกิดเสี้ยน 6.08% 2) การทดสอบปอกเปลือกผลมะพร้าวอ่อนในส่วนของการปอกยอดผล พบว่า ปอกติดกะลาและเกิดรอยขึ้นที่กะลา 2.2% และเกิดเสี้ยน 2.22% โดยผลไม่มีรอยช้ำเกิดขึ้น 3) การทดสอบปอกเปลือกผลมะพร้าวอ่อนในส่วนของการปอกทั้งผลและการทดสอบมุมมีดปอกลำตัวที่ 56, 58.5, 61, 63.5 และ 66 องศากับระนาบเครื่อง โดยพบว่า ใช้เวลาในการปอกรวมประมาณ 5 นาที/ผล เกิดเสี้ยนขึ้นถึง 12.27% และมุมมีด 61 องศากับระนาบเครื่องเป็นมุมที่ทำให้มะพร้าวเกิดเสี้ยนน้อยที่สุด 4) การทดสอบปอกเปลือกผลมะพร้าวอ่อนหลังการปรับปรุงและแก้ไขเครื่อง การทดสอบหาค่าความแข็งเปลือกและค่าความชื้นของเปลือก พบว่า เครื่องสามารถปอกผลมะพร้าวอ่อนได้สมรรถนะประมาณ 20 ผล/ชม. โดยเกิดเสี้ยนประมาณ 2.2% มีเปลือกเขียวประมาณ 4.2% ด้วยคนบังคับคนเดียว ระยะเวลาหลังการเก็บเกี่ยวและความชื้นมีผลต่อการปอกเปลือก โดยเวลาในการปอกเพิ่มขึ้นเมื่อระยะเวลาเก็บรักษานานขึ้น เพราะความชื้นในผลน้อยลง 5) ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องปอกเปลือกแก่โรงงานจักรวาลคาร์เซ็นเตอร์ เครื่องปอกเปลือกต้นแบบที่ถูกโรงงานทดสอบผลิตและทดสอบโดยผู้วิจัย ปรากฎว่า เครื่องปอกเปลือกมะพร้าวอ่อน สามารถปอกเปลือกได้ประมาณ 21 ผล/ชม. เกิดเสี้ยนเฉลี่ย 0.19% พื้นที่เปลือกเขียวเหลืออยู่ 1.1% ผลมะพร้าวที่ถูกปอกเปลือกเป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการและเกษตรกรผู้ปอก

 

เปลือกผลมะพร้าวอ่อนพร้อมขายในประเทศและส่งออก โดยผลการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ระบุว่า ค่าใช้จ่ายในการทำงานเท่ากับ 1.1 บาทต่อผล สำหรับการทำงาน 250 วันต่อปี

โดยสรุปเครื่องปอกเปลือกมะพร้าวอ่อนต้นแบบ สามารถปอกผลมะพร้าวอ่อนได้ทุกขนาด โดยมีเปอร์เซนต์เสี้ยนเฉลี่ยเพียง 0.19% และ มีพื้นที่ที่ไม่ผ่านการปอก (พื้นที่สีเขียว) เพียง 1.11% ใช้เวลาเฉลี่ยรวมในการปอก 2 นาที 46 วินาทีต่อผล หรือ 1 ชั่วโมงสามารถปอกได้เฉลี่ย 21 ผล เครื่องสามารถปอกผลมะพร้าวได้เป็นทรงห้าเหลี่ยมภายใต้การทำงานของเครื่องปอกเครื่องเดียว ซึ่งสามารถลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการทำงานเมื่อเปรียบเทียบกับการปอกโดยคนปอกได้ ทำให้มีความปลอดภัยในการทำงานสูง

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3122
โทรสาร : 02-4228527