สวัสดี

ผลของอัตราการไหลของ CO2และ O2 ต่อคุณภาพหลังการเก็บรักษาลำไย

แชร์:
Favorite (38)

29 มกราคม 2559

ชื่อเรื่อง : ผลของอัตราการไหลของ CO2และ O2 ต่อคุณภาพหลังการเก็บรักษาลำไย

ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นางสาวเกษศิรินทร์ ภู่งาม

คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร. สมชาย กล้าหาญ

ที่มา : ปัญหาพิเศษ เรื่อง ผลของอัตราการไหลของ CO2และ O2 ต่อคุณภาพหลังการเก็บรักษาลำไยคณะเทคโนโลยีการเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปี พ.ศ. 2544

แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : สำนักหอสมุดกลาง พระจอมเกล้าลาดกระบัง

กลุ่มสินค้า : 1513 ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้

เทคโนโลยี : เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว

Keyword : ลำไย คาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน การเก็บรักษา

ผลของอัตราการไหลของ CO2และ O2 ต่อคุณภาพหลังการเก็บรักษาลำไย

ลำไยเป็นผลไม้ที่ส่งออกที่สำคัญของประเทศ ลำไยสดมักมีปัญหาการสูญเสียอย่างรวดเร็วเมื่อเก็บรักษาในอุณหภูมิปกติ จึงทำให้เกิดความเสียหายในการส่งจำหน่ายทั้งภายในและนอกประเทศ ดังนั้นการ

ศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการเก็บรักษาลำไยในสภาพบรรยากาศดัดแปลง(Modified AtmosphereStorage) เพื่อยืดอายุการเก็บผลผลิตลำไยในการศึกษาการเก็บรักษาลำไย ได้วางแผนทดลองแบบ 3X3 Factorial in completely randomizeddesign โดยแบ่งปัจจัยการทดลองออกเป็น 2 ปัจจัย 9 treatment วิธีๆ 3 ซ้ำ คือ

ปัจจัย A คือ ศึกษาอัตราการไหลของ CO2 มี 3ระดับ ปัจจัย B คือ ศึกษาอัตราการไหลของ O2 มี 3 ระดับ

a1 0 ปอนด์/ตารางนิ้ว(PSI)

a2 10 ปอนด์/ตารางนิ้ว(PSI)

a3 20 ปอนด์/ตารางนิ้ว(PSI)

b1 0 ปอนด์/ตารางนิ้ว(PSI)

b2 20 ปอนด์/ตารางนิ้ว(PSI)

b3 30 ปอนด์/ตารางนิ้ว(PSI)

จากการทดลองลำไยมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เปอร์เซ็นต์ TA ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ปริมาณ TSS มีมากที่สุดคือ 21.73 0Brix ที่อัตราการไหลของ CO2 :O2 20 :30 PSI จากการศึกษาอายุลำไยที่เวลา 15 วัน พบว่ามีลักษณะภายนอกและรสชาติเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมากที่สุด

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3122
โทรสาร : 02-4228527