สวัสดี

การศึกษาพฤกษเคมีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากเมล็ดมะเกี๋ยง เพื่อใช้ทางยา เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง

แชร์:
Favorite (38)

27 มกราคม 2559

ชื่อเรื่อง : การศึกษาพฤกษเคมีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากเมล็ดมะเกี๋ยง เพื่อใช้ทางยา เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง

ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : รศ. พิมพร ลีลาพรพิสิฐ

คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.อุดมภัณฑ์ ขาลสุวรรณ, ผศ.ดร.นิสิต กิตติพงษ์พัฒนา และนายจตุรงค์ รจนากุล

ที่มา : งานวิจัย เรื่อง การศึกษาพฤกษเคมีและฤทธ์ิต้านอนุมูลอิสระของ สารสกัดจากเมล็ดมะเกี๋ยง เพื่อใช้ทางยา เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี 2547

แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : ห้องสมุดสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร

กลุ่มสินค้า : 1513 ผักและผลไม้

เทคโนโลยี : เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว

Keyword : มะเกี๋ยง สารสกัด เอทิลแอลกอฮอล์ ฟลาโวนอยด์ ตัวทำละลาย

การศึกษาพฤกษเคมีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากเมล็ดมะเกี๋ยงเพื่อใช้ทางยา เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง

มะเกี๋ยง (Cleistocalyx nervosum var. paniala) เป็นต้นไม้วงศ์เดียวกับพวกหว้า มีฤทธิ์ทางยาในหลายๆ ด้าน มีสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ซึ่งทางการแพทย์ใช้ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันมีสารโพลีฟินอล (Polyphenol) และแทนนิน (Tannin) สารกลุ่มเดียวกันกับที่พบในเปลือกและเมล็ดองุ่น ซึ่งทำหน้าที่จับสกัดสารกระตุ้นการเกิดมะเร็ง หรือมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล โดย ผศ.ธีรวัลย์ ชาญฤทธิเสน และคณะ จึงหันมาศึกษาพันธุ์มะเกี๋ยง ในจังหวัดลำปาง และจังหวัดใกล้เคียงที่สนใจ ผศ.ธีรวัลย์ หนึ่งในผู้คิดค้นวิจัย กล่าวว่า ได้ศึกษาพบว่า มะเกี๋ยง สามารถนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหารได้หลายชนิด และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคอย่างแพร่หลาย เช่น น้ำมะเกี๋ยงพร้อมดื่ม ไวน์มะเกี๋ยง เนคต้ามะเกี๋ยง มะเกี๋ยงแช่อิ่มแห้ง ชา

มะเกี๋ยง (สยามรัฐ จันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2545 หน้า 20)การศึกษาพฤกษเคมีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากเมล็ดมะเกี๋ยงที่เป็นส่วนเหลือทิ้งด้วยกระบวนการทางเคมีแล้วระเหยแห้งจะได้สารสกัดข้นเหนียว เพื่อนำไปใช้ทางยา เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการนำประโยชน์จากดังนี้

ขั้นตอนการทดลอง

  1. การสกัดเมล็ดมะเกี๋ยง โดยแยกส่วนสารสกัดที่ได้ด้วนตัวทำละลายอินทรีย์ (Organic Solvents)

2. ตรวจสอบลักษณะทางพฤกษเคมีเบื้องต้น และตรวจหาองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดที่ได้

3. ศึกษาสารสกัดเมล็ดมะเกี๋ยงด้วยโครมาโตกราฟี เพื่อหาองค์ประกอบที่สำคัญในสารสกัด

4. การกำหนดรูปแบบสำหรับวิธีมาตรฐานในการสกัด

5. การทดสอบคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระ

ผลการทดลอง

1. ผลการสกัดเมล็ดมะเกี๋ยงสำหรับสารสกัดที่ผ่านการระเหยแห้งแล้วสกัดต่อด้วยตัวทำละลายเคมีมีสีเขียวปนเหลือง และสีจะเข้มขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนครั้งที่สกัด หลังจากผ่านการสกัดครั้งที่ 4 จะได้สีน้ำตาล อมแดง

2. สารสกัดจากเมล็ดมะเกี๋ยงที่ได้จะมีลักษณะเป็นยางข้นเหนียวสีเหลืองอมน้ำตาล โดยมีลักษณะทางเคมีเบื้องต้น คือ มีกลุ่มสารประกอบฟลาโวนอยด์, ซาโปนิน (Saponin), แทนนิน และแอนทราควิโนนไกล-โคซายด์ (Avtraquinone glycoside) แต่ไม่พบองค์ประกอบสารอัลคาลอยด์ (Alkaloid) และ คูมาริน(Coumarin)

3. ศึกษาสารสกัดเมล็ดมะเกี๋ยงด้วยโครมาโตกราฟีแบบผิวบาง เพื่อหาองค์ประกอบที่สำคัญของสารสกัดซึ่งเป็นสารสีเหลือง Quercetin และ Kaempferol ที่อยู่ในกลุ่มฟลาโวนอย์ด พบว่าสารเหล่านี้สามารถเรืองแสงสีฟ้าได้ภายใต้แสงยูวี ที่ความยาวคลื่น 366 นาโนเมตร

4. การกำหนดรูปแบบเฉพาะในการศึกษาหากรรมวิธีที่ใช้แยกส่วนสกัดเพื่อหาองค์ประกอบที่สำคัญสามารถทำได้โดยใช้ HPLC แต่ยังคงต้องพิสูจน์เอกลักษณ์ของสารที่ได้ต่อไป

5. ผลการทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระเมื่อใช้สารสกัดด้วยเมทิลแอลกอฮอล์ สามารถให้ผลในการต่อต้านอนุมูลอิสระได้

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3122
โทรสาร : 02-4228527