27 มกราคม 2559
ชื่อเรื่อง : การผลิตข้าวแดงที่ปลอดภัยเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : รศ.เรณู ปิ่นทอง
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : นายจุลยุทธ บุญสร้างสม, นางสาวศศิธร ใบผ่อง และ ดร.พัชรินทร์ ระวียัน
ที่มา : งานวิจัย เรื่องโครงการผลิตข้าวแดงที่ปลอดภัย เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี 2547
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : ห้องสมุดสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
กลุ่มสินค้า : 1531 ผลิตภัณฑ์จากธัญพืช
เทคโนโลยี : เทคโนโลยีชีวภาพและการหมัก
Keyword : ข้าวแดง รา ซิตรินิน โมโนโซเดียมกลูตาเมท ฮีสติดีน
การผลิตข้าวแดงที่ปลอดภัยเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
สีมีความสำคัญต่อลักษณะอาหาร สีที่ได้จากธรรมชาติทั้งจากพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์เป็นที่ต้องการ
ของอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งการผลิตสีแดงจากเชื้อราโมแนสคัส (Monascus sp.) ในรูปข้าวแดงมีการผลิต
อย่างแพร่หลายและเป็นที่นิยมบริโภคมากทั้งในประเทศไทยและแถบเอเชียโดยนำมาใช้เป็นสีแดงในการ
ผลิตไวน์, เต้าหู้ยี้ หรือผลิตภัณฑ์ปลา เป็นต้น เนื่องจากข้าวปลูกได้มากในประเทศไทยการส่งเสริมให้เกิด
การแปรรูปเป็นข้าวแดงจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ข้าวอีกทางหนึ่ง แต่ข้าวแดงมักเกิดซิตรินินซึ่งเป็นสาร
อันตราย โดยที่แหล่งคาร์บอนและไนโตรเจนที่ใช้ในการเจริญของราโมแนสคัส มีผลต่อการเกิดซิตรินิน
การศึกษาศึกษาในครั้งนี้จึงเป็นการหาทางลดปริมาณซิตรินินลงเพื่อสามารถนำสีแดงที่ได้ไปใช้
อย่างปลอดภัย สำหรับการศึกษาวิจัยข้าวแดงอย่างปลอดภัยสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร โดยในการศึกษา
ครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ตอน ได้แก่
ตอนที่ 1 ผลของสายพันธุ์เชื้อราโมแนคัส และชนิดของข้าวต่อปริมาณซิตรินินในข้าวแดง
การผลิตข้าวแดงจากเชื้อราโมแนคัสเพื่อให้เกิดสารสีแดงในข้าว เนื่องจากในแต่ละปี มีการผลิตข้าว
ในประเทศไทยมีปริมาณมาก แต่ปัญหาที่พบในผลิตภัณฑ์ข้าวแดงได้แก่ การปนเปื้อนสารซิตรินินซึ่งเป็น
พิษต่อไต ซึ่งขึ้นอยู่กับสายพันธุ์เชื้อรา Monascus purpureus เพื่อใช้ในการหมักข้าวหอมมะลิ ข้าวเจ้าพิจิตร
และข้าวซ้อมมือให้เป็นข้าวแดง ซึ่งข้าวเจ้าพิจิตรเป็นชนิดข้าวที่เหมาะต่อการเกิดสีแดงของข้าวมากที่สุดแต่
เกิดสารซิตรินินได้มากที่สุดเช่นกัน
คุณภาพของข้าวแดงที่เกิดจากการเพาะด้วยราโมแนสคัส 4 สายพันธุ์ ในข้าวทั้ง 3 ชนิด ได้ผลดังนี้
• สายพันธุ์เชื้อราที่ให้ปริมาณซิตรินินจากสูงไปต่ำคือ
1. Monascus purpureus FTCMU
2. Monascus purpureus ATCC16365
3. Monascus purpureus DMKU
4. Monascus purpureus BCC 6131 ตามลำดับ
• ลำดับชนิดข้าวที่สร้างซิตรินิน คือ ข้าวซ้อมมือ, ข้าวเจ้าพิจิตร และ ข้าวหอมมะลิ ตามลำดับ
• สายพันธุ์เชื้อราที่สร้างสีแดงในข้าวตามลำดับจากสูงไปต่ำ คือ
1. Monascus purpureus ATCC 16365
2. Monascus purpureus DMKU
3. Monascus purpureus FTCMU
4. Monascus purpureus BCC 6131 ตามลำดับ
ตอนที่ 2 ผลของโมโนโซเดียมกลูตาเมทและฮีสติดีนต่อการผลิตรงควัตถุสีแดงและซิตรินินในข้าวแดง
ข้าวแดง ที่ใช้เป็นยาสมุนไพรของจีนหรือใช้เป็นสรปรุงแต่งสีในอาหาร ผลิตจากรา Monascus
purpureus FTCMU แต่ให้สารพิษซิตรินินสูงเช่นกัน ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ได้ทำการเพาะเลี้ยงเชื้อราในข้าวเจ้า
พันธุ์ชัยนาทผสมกับโมโนโซเดียมกลูตาเมทหรือฮีสติดีน จะช่วยลดปริมาณฮีสติดีนในข้าวแดงลง แต่
ส่งผลต่อปริมาณสีแดงในข้าวเช่นกัน
ขั้นตอนการวิจัย
ผลของโมโนโซเดียมกลูตาเมท (Monosodiumglutamate) หรือฮีสติดีน (Histidine) ในข้าว ต่อการ
เกิดสีแดง ของเชื้อรา Monascus purpureus FTCMU โดยการเติมโมโนโซเดียมกลูตาเมทหรือฮีสติดีน นั้นจะ
ใช้เป็นแหล่งไนโตรเจนของเชื้อรานั่นเอง ซึ่งมีขั้นตอนการศึกษา ดังนี้
วัตถุดิบ อุปกรณ์และสารเคมี
• ข้าวสาร
• น้ำสะอาด
• Monosodium glutamate (MSG หรือ ผงชูรส)
• Histidine
• ถุง Polypropylene (PP) ขนาด 8x12 นิ้ว
• คอขวด
• ภาชนะและอุปกรณ์เครื่องครัว
• หม้อนึ่งฆ่าเชื้อ (Autoclave)
เมื่อได้ข้าวแดงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงนำมาตรวจวัดคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพดังต่อไปนี้
- วัดสีแดงของข้าวด้วยเครื่องวัดสี
- วัดค่าความเป็นกรด-ด่าง
- ปริมาณคาร์โบไฮเดรต
- ปริมาณไนโตรเจน
- วัดปริมาณซิตรินิน
ผลการทดลอง
ผลของการเติมโมโนโซเดียมกลูตาเมทและฮีสติดีนต่อการเกิดสีแดงและปริมาณซิตรินิน ต่อการ
เปลี่ยนแปลงทางเคมีและกายภาพตามระยะเวลาในการหมัก ให้ผลดังนี้
- ค่าความเป็นกรด-ด่าง และปริมาณคาร์โบไฮเดรตมีแนวโน้มลดลง
- ปริมาณไนโตรเจนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
- ปริมาณสีแดงสูงสุดพบในข้าวในข้าวที่ไม่มีการเติมโมโนโซเดียมกลูตาเมทและฮีสติดีน
- ปริมาณซิตรินินลดลงเมื่อเติมโมโนโซเดียมกลูตาเมทและฮีสติดีน แต่สีแดงลดลงเช่นกัน