23 มกราคม 2559
ชื่อเรื่อง: การแปรรูปลำไยอบแห้งทั้งเปลือก
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง: โชคชัย ไชยมงคล และ คณะ
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา: -
ที่มา: งานวิจัยเรื่องการแปรรูปลำไยอบแห้งทั้งเปลือกคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี 2545
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม: ห้องสมุดสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
กลุ่มสินค้า: 1513 ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้
เทคโนโลยี: การแปรรูปโดยใช้ความร้อน
Keyword: การอบแห้ง แก๊ส ลำไยพันธุ์เบี้ยวเขียว พันธุ์แห้ว พันธุ์ดอ โพแทสเซียมคลอเรท
การแปรรูปลำไยอบแห้งทั้งเปลือก
ผลผลิตลำไยในแต่ละปีมีความแปรปรวนสูง การนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ จึงเป็นการป้องกันภาวะลำไยล้นตลาด โดยเฉพาะการอบแห้งเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศมาก เนื่องจากสามารถเก็บไว้ได้นาน
การแปรรูปลำไยอบแห้งทั้งเปลือกตามวิธีมาตรฐานโดยใช้กะบะแบบแก๊สหุงต้มเป็นเชื้อเพลิง และใช้ลำไยที่มีแหล่งปลุกในท้องถิ่นรวม 6 พันธุ์ มีขั้นตอนดังนี้
อุปกรณ์
1. เตรียมลำไยพันธ์
– พันธุ์เบี้ยวเขียว
– พันธุ์แห้ว
– พันธุ์ดอก้านอ่อน
– พันธุ์ดอก้านแข็ง
– พันธุ์ดอใส่สารกระตุ้นการออกดอกโพแทสเซียมคลอเรท
2. เตรียมอุปกรณ์: เตาอบแบบกะบะหุงต้มด้วยแก็ซเลียนแบบของประเทศไต้หวัน โดยใช้เหล็กหล่อยาวและอุปกรณ์ชุดควบคุมแทนหัวเผาน้ำมันโซล่าพร้อมติดตั้งพัดลมดูดความร้อนขนาด 1 แรงม้า, รอกขนาด 1 ตัน, ตาข่ายทนร้อน
ผลการทดลอง
1. ลักษณะทางกายภพของลำไยอบแห้ง ทั้ง 6 พันธุ์ เป็นดังนี้
- ขนาดและน้ำหนักเฉลี่ยของผลสดและผลแห้งมากที่สุดคือพันธุ์เบี้ยวเขียวและพันธุ์แห้ว
- จำนวนผลเฉลี่ยต่อกิโลกรัมของผลสดและผลแห้งน้อยที่สุดคือพันธุ์เบี้ยวเขียว
- น้ำหนักเนื้อลำไยสดพันธุ์เบี้ยวเขียวมากที่สุด
- น้ำหนักเนื้อลำไยแห้งพันธุ์เบี้ยวเขียวและพันธุ์แห้วสูงกว่าพันธุ์อื่นๆ
2. คุณสมบัติโดยรวม ในพันธุ์ดอก้านอ่อนและพันธุ์ดอใส่สารกระตุ้นการออกดอกโพแทสเซียมคลอเรท ไม่เหมาะกับการอบแห้ง และเปลือกแตกหักง่าย
3. ต้นทุนการผลิตคิดเป็น 83.14 เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนรวมขึ้นกับราคาตลาด