23 มกราคม 2559
ชื่อเรื่อง : การผลิตฟิล์มที่รับประทานได้จากแป้งข้าวเจ้าและแป้งมันสำปะหลัง
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นายสมศักดิ์ ภักดีวราภรณ์
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.วุฒิชัย นาครักษา
ที่มา : วิทยานิพนธ์เรื่องการผลิตฟิล์มที่รับประทานได้จากแป้งข้าวเจ้าและแป้งมันสำปะหลัง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปี 2544
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : ห้องสมุดสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
กลุ่มสินค้า : 1532 แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง / แป้งข้าวเจ้า แป้งมันสำปะหลัง
เทคโนโลยี : เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์
Keyword : ฟิล์ม แป้งข้าวเจ้า แป้งมันสำปะหลัง กลีเซอรอล
การผลิตฟิล์มที่รับประทานได้จากแป้งข้าวเจ้าและแป้งมันสำปะหลัง
ในปัจจุบันเราจะพบว่าการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์อาหารนั้นได้มีการพัฒนาขึ้นมาโดยจุดประสงค์เพื่อ สามารถยืดอายุการเก็บรักษาและห่อหุ้มอาหารให้ปลอดภัยจากการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์การค้นคว้าและวิจัยฟิล์มที่รับประทานได้ เพื่อนำมาใช้แทนฟิล์มพลาสติกได้ขยายวงกว้างขึ้นวัตถุดิบที่ใช้ในการทำฟิล์มที่รับประทานได้มีหลายชนิด เช่น สตาร์ช โปรตีน ลิปิด การใช้สตาร์ชในการทำฟิล์มที่รับประทานได้ กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมาก ดังนั้นจึงมีการศึกษาฟิล์มที่รับประทานได้จากสตาร์ชเป็นตัววัตถุดิบหลัก คือ แป้งข้าวเจ้าและแป้งมันสำปะหลัง เนื่องจากมีคุณสมบัติในการทำให้เกิดฟิล์มได้ดี
รูปแบบการศึกษา
จากการศึกษาการผลิตฟิล์มที่รับประทานได้จากแป้งข้าวเจ้าและแป้งมันสำปะหลัง พบว่าอัตราส่วนระหว่างแป้งข้าวเจ้ากับมันสำปะหลัง ที่เหมาะสม คือ 1:3 โดยใช้กลีเซอรอล ร้อยละ 5
สรุปผลการศึกษา
จากการทดลองพบว่า เมื่ออัตราส่วนของ แป้งข้าวเจ้า: แป้งมันสำปะหลัง เพิ่มขึ้นจะทำให้ความหนาและความต้านทานแรงดึงขาด มีค่าเพิ่มขึ้น ส่วน Aw , ความชื้น, ความสามารถในการยืดตัว, อัตราการซึมผ่าน
ของไอน้ำ และ อัตราการซึมผ่านของแก๊สออกซิเจน มีค่าลดลงเมื่อเพิ่มปริมาณกลีเซอรอลขึ้นพบว่า ความหนา, Aw, ความชื้น, ความสามารถในการยืดตัว, อัตราการซึมผ่านของไอน้ำ และ อัตราการซึมผ่านของแก๊สออกซิเจนมีค่าเพิ่มขึ้น ส่วนความต้านทานแรงดึงขาด มีค่าลดลง