21 มกราคม 2559
ชื่อเรื่อง : การวิเคราะห์พลังงานในโรงงานผลิตอาหารเส้นหมี่อบแห้ง
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : กมล ทับทิมเทศ
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.ศิริกัลยา สุวจิตตานนท์
ที่มา : วิทยานิพนธ์เรื่อง การวิเคราะห์พลังงานในโรงงานผลิตอาหารเส้นหมี่อบแห้ง สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี 2543
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : ห้องสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
กลุ่มสินค้า : 1532 แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง
เทคโนโลยี : เทคโนโลยีการแปรรูปโดยใช้ความร้อน
Keyword : เส้นหมี่อบแห้ง การอบแห้ง การผลิตเส้นหมี่อบแห้ง
การวิเคราะห์พลังงานในโรงงานผลิตอาหารเส้นหมี่อบแห้ง
ก๋วยเตี๋ยวและเส้นหมี่เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมในการบริโภค เนื่องจากก๋วยเตี๋ยวและเส้นหมี่สามารถผลิตเป็นอาหารสำเร็จรูปแห้งบรรจุพร้อมปรุงและประกอบเป็นอาหารสดพร้อมรับประทานได้หลายรูปแบบ กระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมมีความจำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้าสำหรับเป็นต้นกำลังในการผลิต อาทิ การลำเลียงและการทำความสะอาดเมล็ดข้าวสาร การโม่แป้ง การกรองแป้ง การอัดแห้ง การนวด การอัดรีดเส้น รวมทั้งระบบบำบัดน้ำเสีย การใช้พลังงานในการผลิตไอน้ำสำหรับนึ่งก๋วยเตี๋วจากกระบวนการผลิตดังกล่าวนั้นจำเป็นต้องใช้พลังงานจำนวนมาก และจากการสัมภาษณ์โรงงานผู้ผลิตก๋วยเตี๋ยวและเส้นหมี่ชนิดสดที่ไม่ได้อบแห้ง จำนวน 3 ราย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่ามีอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าและเชื้อเพลิงในการผลิตเป็นมูลค่าประมาณ 800 บาทต่อหนึ่งตันของผลผลิตรวม โดยส่วนใหญ่เป็นพลังงานความร้อนจากเชื้อเพลิงในการผลิตไอน้ำสำหรับใช้ใน
การนึ่งทำให้มีการใช้พลังงานอย่างไม่คุ้มค่า และทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น
การวิจัยนี้แบ่งการศึกษาและวิเคราะห์การใช้พลังงานของโรงงานผลิตเส้นหมี่อบแห้งทั้งการใช้ พลังงานความร้อน และพลังงานไฟฟ้าออกเป็น 6 กระบวนการ คือ การผลิตไอน้ำ การโม่แป้ง การนึ่งก้อนแป้ง การอัดรีดเส้นหมี่ และการอบแห้งเส้นหมี่ โดยศึกษาถึงศักยภาพการประหยัดพลังงานในโรงงานผลิตอาหารเส้นหมี่อบแห้ง วิเคราะห์และเสนอแนวทางการลดต้นทุนด้านพลังงานในการผลิต และวิเคราะห์หาผลตอบแทนในการลงทุนปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและการใช้พลังงานทั้งในทางการเงินและในทาง
เศรษฐศาสตร์
ศึกษาโดยการเก็บข้อมูลของอุปกรณ์การผลิตและใช้พลังงานในโรงงานผลิตเส้นหมี่อบแห้งตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์ลักษณะของข้อมูลที่เก็บแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ ข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดที่ได้จากการตรวจวัดโดยตรงจากเครื่องวัด ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความดัน ความเร็วลม มวล ความร้อนที่สูญเสีย ส่วนประกอบของก๊าซไอเสีย ความต่างศักย์ กระแส กำลัง และตัวประกอบกำลังไฟฟ้า และข้อมูลที่ได้จากการคำนวณ ได้จากการนำข้อมูลเบื้องต้นมาคำนวณ ได้แก่ อัตราการไหลเชิงมวลของน้ำ
อากาศ เส้นหมี่ เชื้อเพลิง ค่าความร้อนจำเพาะของก๊าซไอเสีย และความชื้นผลการศึกษาและวิเคราะห์การใช้พลังงานในการผลิตพบว่าแนวทางการปรับปรุงอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตและใช้พลังงานความร้อนทั้งหมด ได้แก่ หม้อไอน้ำ ระบบท่อส่งไอน้ำและระบบคอนเดนเสท ถังนึ่งก้อน แป้ง ตู้นึ่งเส้น หมี่ ตู้อบ เส้น ห มี่แห้ง และระบบ ไฟ ฟ้าแสงสว่าง มีแนวทางดังนี้