21 มกราคม 2559
ชื่อเรื่อง : การอบแห้งข้าวนึ่งด้วยเครื่องอบแห้งแบบฟลูอิไดซ์เบด
ชื่อผู้เขียน : นายเอกรินทร์ โบษกรนัฏ
อาจารย์ที่ปรึกษา : ศ.ดร.สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ รศ.วารุณี เตีย
ที่มา : วิทยานิพนธ์เรื่อง การอบแห้งข้าวนึ่งด้วยเครื่องอบแห้งแบบ ฟลูอิไดซ์เบด คณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ
จอมเกล้าธนบุรี ปี 2545
แหล่งสืบค้นข้อมูลฉบับเต็ม : ห้องสมุดสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
กลุ่มสินค้า : 1532 แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง
เทคโนโลยี : เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
Keyword : การอบแห้ง ข้าวนึ่ง ฟลูอิไดซ์เบด แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
การอบแห้งข้าวนึ่งด้วยเครื่องอบแห้งแบบฟลูอิไดซ์เบด
ข้าวนึ่ง คือข้าวที่ได้จากการสีข้าวเปลือกที่ผ่านการแช่น้ำและให้ความร้อน ก่อนนำมาสีซึ่งทำให้สามารถรักษาคุณค่าทางอาหารไว้ได้ เนื่องจากสารอาหารที่ผิวของเมล็ดละลายน้ำและซึมเข้าสู่เมล็ดข้าวในระหว่างการผลิตนั่นเอง การวิจัยเพื่อศึกษาสมรรถนะในการอบแห้งข้าวนึ่งด้วยเครื่องอบแห้งฟลูอิไดซ์เบดโดยกระบวนการที่ได้สามารถนำไปพัฒนาการผลิตผลิตข้าวนึ่งในระดับอุตสาหกรรมได้ต่อไปการนี่งเป็นกระบวนการให้ความร้อนแบบชื้นเพื่อให้ข้าวที่ได้เต็มเมล็ดอยู่ ลดปัญหาเมล็ดแตกหัก
และยังคงรักษาคุณค่าทางอาหารไว้ได้
การผลิตข้าวนึ่งในประเทศไทยจะประกอบไปด้วย 1) การแช่ข้าวทำให้แป้งในเมล็ดพองตัวและดูดน้ำไว้ 2) ขั้นตอนการนึ่งเพื่อให้เมล็ดข้าวเกิดเป็นลักษณะเป็นเจลซึ่งจะเห็นเป็นเม็ดใสของข้าวสุก ปกติใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที ที่อุณหภูมิ 10-150 องศาเซลเซียส ละ 3) การอบแห้ง ข้าวเปลือกที่ได้ผ่านการนึ่งจะมีความชื้นประมาณ 25-35% นำมาอบแห้งเพื่อสามารถนำไปขัดสีต่อไปได้ จากกระบวนการดังกล่าว นำมาทดลองใช้การอบแห้งแบบฟลูอิไดซ์เบด แล้วนำข้าวไปผ่านกระบวนการปรับสภาพ ก่อนอบแห้งแบบ LSUอีกครั้ง โดยทำการเก็บตัวอย่างข้าวเปลือกที่ผ่านขั้นตอนการอบแห้งมาวิเคราะห์หาความชื้นเพื่อดูประสิทธิภาพของการอบแห้ง
ผลการอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งฟลูอิไดซ์เบด พบว่า สามารถอบแห้งข้าวนึ่งจากความชื้นเริ่มต้นประมาณ 25 % d.b. เหลือประมาณ 20% d.b.โดยคุณภาพของข้าวไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ซึ่งสมรรถนะในระเหยน้ำของระบบอบแห้งจะขึ้นอยู่กับความชื้นเริ่มต้นของข้าวนึ่งก่อนเข้าสู่เครื่องอบแห้ง ทั้งนี้เนื่องจากที่ความชื้นข้าวนึ่งต่ำจะทำให้น้ำระเหยออกจากข้าวได้ยากกว่าข้าวที่มีความชื้นเริ่มต้นสูงคุณสมบัติของข้าวที่ได้จากการแช่ข้าวทำให้เกิดการ gelatinization บางส่วน เพิ่มเปอร์เซ็นต์ต้นข้าวได้ 15 เปอร์เซ็นต์ การนึ่งทำให้เกิดการ gelatinization อย่างสมบูรณ์ หรือทำให้ได้ข้าวสุกเมล็ดใส และเพิ่มเปอร์เซ็นต์ต้นข้าวได้มาก ประมาณ 17 เปอร์เซ็นต์ แต่ทำให้ความขาวลดลงการผลิตข้าวนึ่งมีการใช้พลังงานความร้อน 651.45-732.14 Mj/ton พลังงานไฟฟ้า 5.16-6.08 kWh/ton โดยเสียค่าใช้จ่ายในการอบแห้งข้าวนึ่งเฉลี่ย 69.15 บาท/ตันข้าวเปลือกนึ่ง