21 มกราคม 2559
ชื่อเรื่อง : กรรมวิธีการประหยัดพลังงานอย่างเป็นระบบในอุตสาหกรรมอาหาร
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นางสาวกชกร โจมจันทึก
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร.มนต์ทิพย์ ช่ำชอง
ที่มา : วิทยานิพนธ์เรื่องกรรมวิธีการประหยัดพลังงานอย่างเป็นระบบในอุตสาหกรรมอาหาร สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี ภาควิชาวิศวกรรมเคมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี2544
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : ห้องสมุดสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
กลุ่มสินค้า : 1549 ผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ
เทคโนโลยี : เทคนิคการบริหารจัดการอื่นๆ
Keyword : การอนุรักษ์พลังงาน หม้อไอน้ำ หม้อนึ่งไอน้ำ หอหล่อเย็นระบบทำความเย็น
กรรมวิธีการประหยัดพลังงานอย่างเป็นระบบในอุตสาหกรรมอาหาร
อุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจไทย เพราะนอกจากจะใช้
วัตถุดิบหลักจากภาคการเกษตรและประมง ซึ่งก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในประเทศสูงและเป็นแหล่งสร้างรายได้
สำคัญแก่คนในชนบทและยังเป็นอุตสาหกรรมส่งออกที่ไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก
ได้ดี และสร้างรายได้เงินตราต่างประเทศจำนวนมากมาอย่างต่อเนื่องทุกปี
วิกฤตการณ์พลังงานที่เกิดขึ้นทำให้พลังงานมีมูลค่าสูงขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมและ
ธุรกิจประเภทต่างๆ โรงงานอุตสาหกรรมอาหารเป็นโรงงานหนึ่งที่ประสบปัญหานี้ เนื่องจากกระบวนการ
ผลิตต้องการใช้พลังงานอย่างมากในรูปของพลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนด้วยเหตุนี้ วัตถุประสงค์
ของงานวิจัย คือ การศึกษาและปรับปรุงศักยภาพการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในโรงงาน
อุตสาหกรรม โดยการดำเนินการจัดการด้านพลังงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการอนุรักษ์
พลังงาน โดยโปรแกรมถูกพัฒนาเพื่อนำไปใช้สำหรับการประหยัดพลังงานอย่างเป็นระบบในอุตสาหกรรม
อาหารกระป๋องและอาหารแช่แข็ง โดยการทำงานของโปรแกรมนี้ถูกแบ่งเป็น 3 ส่วนคือการแสดงแผนผัง
การใช้พลังงานในกระบวนการผลิต การคำนวณหาความเป็นไปได้ในการประหยัดพลังงานของหน่วยการ
ผลิต ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีการใช้พลังงานเป็นจำนวนมากนั้น ได้แก่ หม้อไอน้ำ หม้อนึ่งไอน้ำ หอหล่อเย็น
ระบบทำความเย็น และการวิเคราะห์ผลการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์และทางการเงิน จากกรณีศึกษา โรงงาน
ผลินปลาทูน่ากระป๋อง พบว่ามีการใช้พลังงานความร้อนจากน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นปริมาณมากถึง 1,054.14
กิโลจูล ขณะที่พลังงานไฟฟ้ามีการใช้ไป 959.9 กิโลวัตต์ชั่วโมง สำหรับความเป็นไปได้ในการประหยัด
พลังงานมีดังนี้ ประสิทธิภาพการทำงานของหม้อไอน้ำให้เพิ่มขึ้นจาก 67.13 เป็น 84.08 % โดยลดปริมาณ
การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของหม้อไอน้ำลงถึง 25.75 % ช่วงเวลาฆ่าเชื้อของหม้อนึ่งไอน้ำมีค่าลดลงจาก 64.46
เหลือ 49 นาที โดยยังคงรักษาคุณภาพของผลินภัณฑ์ไว้ การปรับอัตราการไหลเข้าของอากาศอย่าง
เหมาะสมจะช่วยลดพลังงานที่ใช้ในมอเตอร์พัดลมของหอหล่อเย็น โดยจำนวนหน่วยการถ่ายเทความร้อน
และอัตราการทำความเย็นเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย หน่วยสุดท้ายของกรณีศึกษา คือ ระบบทำความเย็น กำลัง
ทำงานร่วมของเครื่องอัดไอจะลดลงจาก 14.75 เป็น 12.59 กิโลวัตต์ หรือลดลง 14.64% สุดท้าย จากการ
วิเคราะห์มาตรการการอนุรักษ์พลังงานพบว่าควรมีการติดตั้งระบบควบคุมและส่งน้ำเย็น การวิเคราะห์ผล
การลงทุนทางเศรษฐศาสตร์และทางการเงินมีค่าเท่ากับ 24.79 % และ 16.61% ตามลำดับ ดังนั้น มาตรการ
การนี้จึงสมควรได้รับเงินทุนสนับสนุนจากกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานได้เป็นจำนวนเงิน 1,408,649
บาทหรือเท่ากับ 14.09% ของเงินลงทุนทั้งหมด และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลงเหลือ 8.54 %