สวัสดี

โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับทำนายเวลาที่ใช้ในการแช่แข็งผลิตภัณฑ์อาหาร

แชร์:
Favorite (38)

21 มกราคม 2559

ชื่อเรื่อง : โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับทำนายเวลาที่ใช้ในการแช่แข็งผลิตภัณฑ์อาหาร

ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นายทัศนัย คงสุข , นางสาวระพีพรรณ จะระพิเชฐ และนางสาวสุภาวดี ชุสมภพ

คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์

ที่มา : วิทยานิพนธ์เรื่อง สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร ภาควิชาวิศวกรรมอาหารสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปี 2543

แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : ห้องสมุดสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร

กลุ่มสินค้า : 1549 ผลิตภัณฑ์อาหารอื่น ๆ

เทคโนโลยี : เทคนิคการบริหารจัดการอื่นๆ

Keyword : แช่แข็ง อาหารแช่แข็ง

 

โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับทำนายเวลาที่ใช้ในการแช่แข็งผลิตภัณฑ์อาหาร

การลดอุณหภูมิด้วยวิธีการแช่แข็ง เป็นวิธีรักษาคุณภาพของอาหารและอายุการเก็บรักษาอาหาร

อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นที่นิยมใช้กันมาก ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยมีการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารแช่

เยือกแข็งมากขึ้น คุณภาพของการแช่แข็งจะมีความสัมพันธ์กับอัตราการแช่แข็ง คืออัตราการแช่แข็งแบบช้า

จะทำให้ผลึกน้ำแข็งมีขนาดใหญ่ และเกิดขึ้นภายนอกเซลล์จะไปบีบให้เซลล์แตก หลังจากละลายน้ำแข็ง

แล้วอาหารจะมีส่วนของของเหลวภายในเซลล์ไหลออกมา แต่อัตราการแช่แข็งแบบเร็วจะเกิดผลึกน้ำแข็ง

ขนาดเล็กและเกิดขึ้นภายในเซลล์และภายนอกเซลล์ ซึ่งไม่ทำให้อาหารเสียสภาพเมื่อละลายน้ำแข็ง คุณภาพ

ของผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอัตราการแช่แข็ง การเลือกสภาวะที่เหมาะสมใน

การแช่แข็ง จะทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งมีคุณภาพดีเป็นไปตามความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งการ

ทำนายเวลาที่ใช้ในการแช่แข็งมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง จึงทำให้ยุ่งยากและเสียเวลาในการคำนวณ

โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับทำนายเวลาที่ใช้ในการแช่แข็งผลิตภัณฑ์อาหารจึงได้ถูกจัดสร้างขึ้น

บนโปรแกรม Microsoft Visual Basic 6.0 เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำนายเวลาในการแช่แข็ง

ผลิตภัณฑ์อาหารทั้ง 2 วิธี คือ วิธีเชิงสังเคราะห์ แบ่งเป็น Plank' s Equation (1993), Nogaoka' s Equation

(1995), Pham' s Equation (1984,1985), กับวิธีเชิงเลข (Numerical Method) ซึ่งอาศัยหลักการเปลี่ยนแปลง

ของเอนทับปี

โปรแกรมนี้ใช้ได้ทั้งผู้ที่เชี่ยวชาญและไม่เชี่ยวชาญในด้านการแช่แข็ง เพื่อทำนายเวลาที่ใช้ในการ

แช่แข็ง โดยให้ค่าคุณสมบัติของอาหารและสภาวะการแช่เข็ง การเปรียบเทียบผลการคำนวณเวลาที่ใช้ใน

การแช่แข็งจากวิธีต่างๆ จะทำให้สามารถเลือกสภาวะที่เหมาะสมในการแช่แข็งได้

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3122
โทรสาร : 02-4228527