20 มกราคม 2559
ชื่อเรื่อง : การศึกษาการลดความเค็มในซีอิ๊ว
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นางสาวกุมุทนาถ ปานหอ
นางสาวสุรีย์พร กังสนันท์
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : -
ที่มา : โครงงานนักศึกษา เรื่อง การศึกษาการลดความเค็มในซีอิ๊วคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ ปี 2546
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : หอสมุด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กลุ่มสินค้า : 1531 ผลิตภัณฑ์จากธัญพืช
เทคโนโลยี : เทคโนโลยีชีวภาพและการหมัก
Keyword : ซีอิ๊ว, ความเค็ม, เกลือ, ตกผลึก, ไดอะไลซีส
การศึกษาการลดความเค็มในซีอิ๊ว
ซีอิ๊วเป็นเครื่องปรุงรสที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ให้สารอาหารที่เป็นประโยชน์
ต่อร่างกายหลายชนิด ส่วนใหญ่จะได้จากถั่วเหลือง โดยทั่วไปในซีอิ๊วมีเกลืออยู่ 17-23% (มอก.) แต่มี
งานวิจัยทางการแพทย์ พบว่า สารโซเดียม หรือ “เกลือ” เป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงมีผลร้ายแรง
ต่อเนื่องกับโรคหัวใจ และอัมพฤกษ์ ทำให้เกิดอาการเส้นเลือดคั่ง และหัวใจวายได้
ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเค็มในซีอิ๊ว สามารสรุปแผนภาพการลด
ความเค็มในซีอิ๊วด้วยการตกผลึกและการกรองด้วยวิธีไดอะไลซิส ได้ดังนี้
การลดความเค็มโดยวิธีการตกผลึก
การลดความเค็มโดยวิธีไดอะไลซีส
จากการทดลอง พบว่า การกรองด้วยไดอะไลซิสขนาด 3,500 MWCO สามารถลดเกลือลงได้ถึง
14.62+0.00% จากปริมาณเกลือเริ่มต้น 23.11+0.17% และรักษาองค์ประกอบอื่นๆ ได้ดีกว่าไดอะไลซิสขนาด
6,000-8,000 ที่ลดเกลือลงได้ 6.69+0.29% จากเริ่มต้น 23.11+0.17% ซึ่งลดเกลือลงมากเกินความต้องการ
ของวัตถุประสงค์ในการทดลอง ซึ่งต้องการให้เหลือ 17% ส่วนวิธีการตกผลึกสามารถลดความเค็มจาก
ปริมาณเกลือเริ่มต้น 24.36+0.02% เหลือ 18.48+0.1%
จากทั้งสองวิธี พบว่าวิธีตกผลึกเป็นแนวทางที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในระดับอุตสาหกรรมได้
ดีกว่าวิธีไดอะไลซิส เนื่องจากเป็นวิธีที่ประหยัด ไม่ยุ่งยาก และสามารถลดความเค็มได้ในปริมาณมาก