20 มกราคม 2559
ชื่อเรื่อง : การใช้กากถั่วเหลืองจากกระบวนการสกัดน้ำมันในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นายจักรพงษ์ สงวนสิน นายมาวิน เทียมพุดซา
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.เยาวลักษณ์ สุรพันธพิศิษฐ์
ที่มา : ปัญหาพิเศษเรื่อง การใช้กากถั่วเหลืองจากกระบวนการสกัดน้ำมันในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์
สาขาอุตสาหกรรมเกษตร ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปี 2546
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : ห้องสมุดสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
กลุ่มสินค้า : 1511 เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์
เทคโนโลยี : การแปรรูปด้วยใช้ความร้อน
Keyword : ถั่วเหลือง, ไส้กรอกเปรี้ยว, หมูยอ
การใช้กากถั่วเหลืองจากกระบวนการสกัดน้ำมันในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์
ซึ่งงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการใช้กากถั่วเหลืองในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ การใช้กากถั่วเหลืองแทนเนื้อหมูในไส้กรอกเปรี้ยว ศึกษาการใช้กากถั่วเหลืองแทนเนื้อหมูในไส้อั่ว ศึกษาการใช้กากถั่วเหลืองในการผลิตหมูยอ จากการที่นำกากถั่วเหลืองแบบบดหยาบมาใช้ทดแทนเนื้อหมูในผลิตภัณฑ์ไส้กรอกเปรี้ยว โดยจากการทดลองพบว่า สูตรที่เติมกากถั่วเหลืองบดหยาบแทนเนื้อหมูในอัตราส่วนเนื้อหมู : กากถั่วเหลือง 450 : 50 ได้รับการยอมรับในด้านเนื้อสัมผัส ความเปรี้ยว และการยอมรับโดยรวมมากว่าสูตรอื่นๆ ในด้านผลิตภัณฑ์ไส้อั่ว พบว่าสูตรที่เติมกากถั่วเหลืองบดหยาบแทนเนื้อหมูในอัตราส่วนเนื้อหมู : กากถั่วเหลือง 50 :350 ได้รับการยอมรับในด้านเนื้อสัมผัส แต่มีความแตกต่างทางด้านกลิ่น สำหรับผลิตภัณฑ์หมูยอ พบว่า สูตรที่เติมกากถั่วเหลืองบดหยาบแทน Isolated Soy Protein ในหมูยอ ผู้บริโภคให้การยอมรับสูตรที่มีอัตราส่วน 75: 25