20 มกราคม 2559
ชื่อเรื่อง : การทำนายแบบจำลองอาหารแช่แข็งในเตาไมโครเวฟ
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นางสาวชฎารัตน์ บุษยวิทย์ นางสาวชุติมา สุจิตวรสาร
นางสาวทัศนีย์ โปร่งหนองเมือง
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.จิรารัตน์ ทัตติยกุล
ที่มา : โครงการพิเศษเรื่องการทำนายแบบจำลองอาหารแช่แข็งในเตา
ไมโครเวฟ สาขาเทคโนโลยีทางอาหาร ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2546
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มสินค้า : 1549 ผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ
เทคโนโลยี : การแปรรูปโดยใช้ความร้อน
Keyword : การทำละลาย แช่แข็ง เตาไมโครเวฟ Continuous Heating CyclicHeating
การทำนายของแบบจำลองอาหารแช่แข็งในเตาไมโครเวฟ
ปัจจุบันการปรุงอาหารหรืออุ่นอาหารโดยใช้ความร้อนมีด้วยกันหลายวิธี การใช้เตาไมโครเวฟเป็น
อีกวิธีหนึ่งในการปรุงอาหารหรืออุ่นอาหารที่มีผู้นิยมกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากใช้งานได้สะดวก รวดเร็ว
ปลอดภัย ใช้ประกอบอาหารได้หลายประเภท
นอกจากปรุงอาหารหรืออุ่นอาหารแล้ว การทำละลาย(Thawing) ชิ้นอาหารด้วยเตาไมโครเวฟก็เป็น
ที่นิยมเช่นกัน ปัญหาในการทำละลายในไมโครเวฟคือ ชิ้นอาหารละลายไม่ทั่วถึง อาหารบางส่วนสุกในขณะ
ที่บางส่วนยังไม่ละลาย เนื่องจากความร้อนไม่สม่ำเสมอของเตาไมโครเวฟ เป็นผลมาจาก ขนาด รูปร่างและ
องค์ประกอบต่างๆ ที่อยู่ในชิ้นอาหาร
ดังนั้นจึงทำการศึกษาวิจัยผลของขนาดความหนาและรูปทรงของชิ้นอาหาร ผลของทิศทางการส่ง
ผ่านความร้อน วิธีการทำละลายต่อการกระจายความร้อนและผลของการทำละลายที่มีผลต่อการสูญเสียสาร
อาหารในชิ้นอาหารโดยใช้เตาไมโครเวฟ โดยตัวอย่างอาหารที่นำมาศึกษาในครั้งนี้ คือ ข้าวหอมมะลิสุก
สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
ข้าวหอมมะลิหุงสุกที่มีความชื้น 59.4±1.9% นำไปแช่เยือกแข็งจนอุณหภูมิจุดกึ่งกลางเป็น-18๐C
แล้วนำมาทำละลายโดยใช้ไมโครเวฟ (ความถี่ 2450 MHz กำลัง 800 w) จนมีอุณหภูมิกึ่งกลางเป็น 20๐C ชิ้น
อาหารมีขนาดดังนี้ 7x7x7 cm3 , 9x9x9 cm3 และ 11x11x11 cm3 ใช้เวลาในการทำละลายโดยใช้ไมโครเวฟ
เป็น 66.01±1.6 468.0±19.0 และ 713.3±21.6 วินาที ตามลำดับ แสดงว่าความหนาของชิ้นอาหารเพิ่มขึ้นทำ
ให้ใช้เวลาในการละลายมากขึ้น และจากตัวอย่างอาหารขนาด 7x7x5 cm3 9x9x7 cm3 และ 9x9x9 cm3 ใช้
เวลาในการทำละลายเป็น 112.3±4.1 , 274.3±3.1 และ 468.0±19.0 วินาที ตามลำดับ และเมื่อตัวอย่างอาหาร
ที่มีขนาด 9x9x9 cm3 เปลี่ยนรูปทรงอาหารตัวอย่างเป็นรูปทรงกระบอกเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 ซม. สูง 9.3
ซม. โดยมีน้ำหนักเท่ากันและปริมาตรใกล้เคียงกัน พบว่า การละลายเป็น 218.1±13.9 วินาที คิดเป็น 46.61%
ของตัวอย่างลูกบาศก์จึงสรุปได้ว่า
• ชิ้นอาหารที่เป็นรูปทรงกระบอกใช้เวลาในการทำละลายน้อยกว่ารูปทรงลูกบาศก์
• ชิ้นอาหารที่ได้รับความร้อน 6 ทิศทางใช้เวลาในการทำละลายน้อยกว่าชิ้นอาหารที่ได้รับ
ความร้อน 5 ทิศทาง
เมื่อศึกษาวิธีการทำละลายแบบ Continuous Heating (Power 50% 70% และ 100%) และแบบ
Cyclic Heating (เวลาเปิดไมโครเวฟต่อเวลาทั้งหมด 20%, 30%, 40%, 50% และ 70%) ที่ส่งผลต่อการสูญ
เสียวิตามินบี 1 พบว่า
• การทำละลายแบบ Continuous Heating ใช้เวลาในการทำละลายนานขึ้นเมื่อ % Power
Rating ลดลง และการสูญเสียวิตามินบี 1 ลดลง
• การทำละลายแบบ Cyclic Heating เวลาที่ใช้ในการทำละลายเพิ่มขึ้นเมื่อ %Power Rating
ลดลง และการสูญเสียวิตามินบี 1 เพิ่มขึ้น
• การทำละลายแบบ Continuous Heating ที่ Power 50% , 70% ใช้เวลามากกว่าการทำ
ละลายแบบ Cyclic Heating ที่ 50% , 70% Power Rating และการสูญเสียวิตามินบี 1 ในตัว
อย่างอาหารที่ทำละลายแบบ Continuous Heating มากกว่าที่ทำละลายแบบ Cyclic Heating
ที่ 70%