20 มกราคม 2559
ชื่อเรื่อง : การผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษอาหารโดกระบวนการย่อยสลายภายใต้สภาวะไร้ออกซิเจนแบบสองขั้นตอน
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นางสาวอาริยา วิรัชวรกุล
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ปราโมทย์ ศิริโรจน์
ที่มา :วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต เรื่องการผลิตก๊าซชีวภาจาก
เศษอาหารโดยกระบวนการย่อยสลายภายใต้สภาวะไร้ออกซิเจนแบบสอง
ขั้นตอน ภาควิชาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี 2546
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : สำนักหอสมุด วิทยาเขตบางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กลุ่มสินค้า : 1549 ผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ / เศษอาหาร
เทคโนโลยี : เทคโนโลยีชีวภาพและการหมัก
Keyword : เศษอาหาร ก๊าซชีวภาพ
การผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษอาหารโดยกระบวนการย่อยสลายภายใต้สภาวะไร้
ออกซิเจนแบบสองขั้นตอน
ปัญหามลพิษที่สำคัญประการหนึ่งในปัจจุบันคือ ปัญหาขยะของเสียที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แนวทาง
หนึ่งหนึ่งที่จะสามารถกำจัดขยะของเสียได้โดยการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ที่สำคัญคือ การนำขยะ
ของเสียมาทำการผลิตก๊าซชีวภาพ ซึ่งสามารถนำไปใช้ทดแทนพลังงานอื่นๆได้ โดยเฉพาะในภาวะราคา
น้ำมันแพง
การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นการผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษอาหารโดยกระบวนการย่อยสลายภายใต้สภาวะ
ไร้ออกซิเจนแบบสองขั้นตอน เนื่องจากการย่อยสลายแบบขั้นตอนเดียวเป็นไปได้ยาก เพราะเชื้อจุลินทรีย์ที่
อยู่ร่วมกันสองประเภทคือชนิดที่ผลิตกรดและชนิดที่ผลิตมีเทน จะมีการสะสมในปริมาณมากทำให้เกิดการ
ระเหยของกรดในจำนวนมาก การย่อยสลายแบบสองขั้นตอนจะใช้ถังหมักกรดและถังหมักก๊าซแยกออกจาก
กัน และเศษอาหารที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้เป็นเศษอาหารที่ได้จากโรงอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ขั้นตอนในการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. การเตรียมอุปกรณ์ อุปกรณ์ที่ใช้ ได้แก่
- เศษอาหาร ที่นำไปบดด้วยเครื่องบดปั่น โดยใส่น้ำเล็กน้อยขณะปั่น แล้วนำไปใส่ถุงพลาสติก เก็บไว้
ที่อุณหภูมิ –4 องศาเซลเซียส
- เชื้อจุลินทรีย์เริ่มต้น ได้มาจากการปรับสภาพตะกอนจุลินทรีย์ จากบ่อบำบัดมูลสุกรแบบไร้
ออกซิเจน
- ระบบถังหมัก เป็นระบบการย่อยสลายภายใต้สภาวะไร้ออกซิเจนแบบสองขั้นตอน ที่มีการกวนผสม
อย่างสมบูรณ์ ถังหมักที่ใช้ได้แก่ ถังหมักกรด ทำจากสแตนเลสหนา 1 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง
35.5 เซนติเมตร สูง 36.5 เซนติเมตร มีแผ่นพลาสติกอะครีลิคใสปิดด้านบนถัง และมีประเก็นยาง
ป้องกันการรั่วซึม เจาะถังด้านข้างเพื่อต่อท่อกับถังหมักก๊าซ ส่วนด้านบนเป็นท่อสำหรับป้อน
สารละลายเศษอาหาร โดยจะมีเพลาของชุดกวนติดบนฝาถัง ซึ่งชุดกวนจะมีรอบความหมุน
ประมาณ 10 รอบต่อนาที ตั้งเวลาทำงาน 15 นาทีและหยุด 15 นาที ส่วนถังหมักก๊าซที่ใช้ จะเป็นถัง
ที่ทำจากสแตนเลส หนา 1 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 41 เซนติเมตร สูง 51 เซนติเมตร มีแผ่น
พลาสติกอะครีลิคใสปิดด้านบนถัง และมีประเก็นยางป้องกันการรั่วซึม เจาะถังด้านข้างเพื่อต่อท่อ
ของเหลวที่ล้นออกมา ส่วนด้านบนจะเป็นท่อนำก๊าซ ในถังจะมีระบบกวนเช่นเดียวกับถังกรด
- ระบบเก็บก๊าซชีวภาพ เป็นขวดพลาสติกขนาดความจุ 5 ลิตร วางต่อกัน 6 ขวด ปิดปากขวดด้วยจุก
ยางเจาะรู และใส่แท่งแก้ว 3 แท่ง โดยต่อกับสายยางนำก๊าซชีวภาพออกมาจากถังหมักก๊าซ แท่งที่ 2
จะดูดน้ำจากขวดที่ถูกแทนที่ด้วยก๊าซชีวภาพ และแท่งแก้วสุดท้ายจะปล่อยก๊าซชีวภาพออกจากขวด
เมื่อเติมน้ำเข้าสู่ขวด
2. วิธีการผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษอาหาร สรุปได้ดังนี้
- เตรียมสารละลายเศษอาหาร ที่ได้ในข้อ 1 นำมาละลายแล้วเจือจางด้วยน้ำประปาให้มีค่าของแข็ง
ประมาณ 4 % ป้อนเข้าสู่ระบบถังหมัก
- วิเคราะห์คุณสมบัติของสารละลายเศษอาหารที่มีค่าของแข็ง 4 % เช่น ค่าความเป็นกรดด่าง BOD
COD TS TVS SS VFA และปริมาณฟอสฟอรัส เป็นต้น
- การทดสอบระบบถังหมัก โดยตรวจสอบรอยรั่วเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับถังหมักแบบไร้ออกซิเจน โดย
ทดสอบการรั่วซึมทุกด้าน โดยใช้น้ำสบู่ทาบริเวณรอยต่อแล้วเป่าลมเข้าถังและอุดรอยรั่วทุกทางด้วย
ซิลิโคน
- การเริ่มต้นดำเนินระบบและสภาวะในการดำเนินระบบ เริ่มต้นจากเติมตะกอนจุลินทรีย์ที่ผ่านการ
ปรับสภาพลงในถังหมักกรดและถังหมักก๊าซ ประมาณ 40 % ของปริมาตรการหมักที่ 11.09 ลิตร
ของถังหมักกรด และ 21.13 ลิตรของถังหมักก๊าซ หลังจากนั้นเติมสารละลายที่มีปริมาณของแข็ง 4
% ในถังหมักกรด แล้วผ่านต่อไปยังถังหมักก๊าซแบบกึ่งต่อเนื่อง โดยมีความถี่ในการเติมสารละลาย
อาหาร 1 ครั้งต่อวัน ระยะเวลาเก็บกักเริ่มต้นที่ 35 วัน
- การวิเคราะห์และเก็บข้อมูล โดยการนำสารละลายเศษอาหารที่เข้าระบบหมักในถังกรดและก๊าซ มา
วิเคราะห์ค่ากรดด่าง ปริมาณ COD ปริมาณของแข็งทั้งหมด ปริมาณของแข็งที่ระเหยได้ ปริมาณ
กรดอินทรีย์ระเหย ทุก 3 วัน จนระบบเข้าสู่สมดล นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ประสิทธิภาพของ
ระบบ ทำการบันทึกปริมาณก๊าซชีวภาพ โดยใช้หลักการแทนที่น้ำ นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณเป็น
ปริมาณก๊าซชีวภาพที่สภาวะมาตรฐาน
ผลจากการศึกษาการผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษอาหารโดยใช้ระบบย่อยสลายภายใต้สภาวะไร้
ออกซิเจนแบบสองขั้นตอน พบว่า ระบบการย่อยสลายภายใต้สภาวะไร้ออกซิเจนแบบสองขั้นตอนสามารถ
กำจัดเศษอาหารได้ดี และมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นตาม HRT ที่เพิ่มขึ้น แต่พบว่าปริมาณก๊าซชีวภาพทั้งหมดที่
เกิดขึ้นจะลดลงตาม HRT ที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นสภาวะที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการผลิตก๊าซ
ชีวภาพ คือ HRT 30 วัน คิดเป็น OLR 6.39 สามารถผลิตก๊าซได้ 38.43 ลิตรต่อวัน โดยจะมีองคืประกอบก๊าซ
มีเทน 60.61 เปอร์เซ็นต์ และมีประสิทธิภาพการกำจัด COD ของแข็งทั้งหมด ของแข็งระเหยทั้งหมด และ
ของแข็งแขวนลอยสูงสุด เท่ากับ 87.08 79.75 83.35 และ 76.83 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าการผลิตแบบ
ขั้นตอนเดียว