15 มกราคม 2559
ชื่อเรื่อง : การศึกษาความสามารถของตาข่ายที่ทำจากเชือกกล้วยในการป้องกันผลแอบเปิ้ลจากการกระแทก
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : รศ.บัณฑิต จริโมภาส ธารินี มหายศนันท์ นงเยาว์ ศรีเอนก
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : -
ที่มา : งานวิจัยเรื่อง การศึกษาความสามารถของตาข่ายที่ทำจากเชือกกล้วยในการป้องกันผลแอบเปิ้ลจากการกระแทก ภาควิชาวิศวกรรมอาหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ปี 2545
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : สำนักห้องสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีกรุงเทพมหานคร
กลุ่มสินค้า : 1513 ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้
เทคโนโลยี : เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
Keyword : กล้วย แอบเปิ้ล เชือกกล้วย การกันกระแทก บรรจุภัณฑ์ไม้ผล
การศึกษาความสามารถของตาข่ายที่ทำจากเชือกกล้วยในการป้องกันผลแอบเปิ้ลจากการกระแทก
กล้วย เป็นผลไม้ที่มีมากและหลากหลายชนิด โดยในประเทศไทยมีประมาณ 300 ชนิด แต่ชนิดที่
เป็นที่รู้จักและนิยมนำมาบริโภคได้แก่ กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ และกล้วยหอมทอง กล้วย เป็นไม้ล้มลุกขนาด
ใหญ่ ลำต้นเป็นกาบสูงประมาณ 2-5 เมตร โดยกาบกล้วยนี้สามารถนำมาทำเป็น เชือกกล้วย ซึ่งเป็นวัสดุ
ดิบทางการเกษตรที่เหลือใช้ เนื่องจากเมื่อต้นกล้วยให้ผลแล้ว เกษตรกรก็จะตัดต้นกล้วยทิ้ง โดยจำนำกาบ
ของต้นกล้วยมาฉีกเป็นเส้นและผึ่งแดดจนแห้ง ได้เป็นเชือกกล้วยที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม เป็นรูพรุนคล้าย
ฟองน้ำ และสามารถนำมาสานเป็นงานหัตกรรมต่างๆได้
งานวิจัยนี้ จึงสนใจนำเชือกกล้วยมาใช้ประโยชน์ โดยศึกษาความสามารถของตาข่ายที่ได้จากการถัก
เชือกกล้วยในการลดความเสียหายกับผลแอบเปิ้ล เนื่องจากการกระแทก
การทดลองเริ่มด้วยการเขียนเครื่องหมายด้วยปากกาเขียนถาวรที่ผลแอบเปิ้ลเมืองจีน Doi luang,
Shing kee lan สำหรับผลที่ห่อหุ้มด้วยตาข่ายที่ถักจากเชือกกล้วยขนาดเล็ก (เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 73.3
มม.) ขนาดกลาง (เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 77.6 มม.) และขนาดใหญ่ (เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 89.1)
ประเภทละ 10 ผล จากนั้นวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่มากที่สุดด้วย Vernier caliper และชั่งน้ำหนักผล
แอยเปิ้ลทุกผลด้วยเครื่องชั่งยี่ห้อ OHAUS รุ่น GT 4100 แล้วบันทึกผล และนำเชือกกล้วยมาถักเป็นตา
ข่ายหุ้มแอบเปิ้ลขนาดต่างๆ ประเภทละ 10 ผล วางผลแอบเปิ้ลหุ้มตาข่ายที่ถักจากเชือกกล้วยที่เครื่อง
ทดสอบการกระแทก ณ ที่ตั้ง Sample โดยให้จุดศูนย์กลางของผลแอบเปิ้ลอยู่ในจุดกึ่งกลางของตุ้มน้ำหนัก
(แนวแกนของแอบเปิ้ลขนานกับด้านกว้างของตุ้มน้ำหนัก) เลื่อนแผ่นวัดมุมของชุดทดลองให้มุม 0 องศา
ตรงกับแนวสัมผัสของตุ้มน้ำหนักกับผิวของตาข่ายที่หุ้มผลแอบเปิ้ลพอดี จับตุ้มน้ำหนักเคลื่อนที่ไปที่มุม 10
องศา ปล่อยตุ้มน้ำหนักให้ลอยไปกระแทกผลแอบเปิ้ล อ่านค่ามุมสะท้อนและจับตุ้มไว้ระวังไม่ให้ตุ้มน้ำ
หนักไปกระแทกผลแอบเปิ้ลซ้ำ เขียนรอยพื้นที่สัมผัสบนผิวแอบเปิ้ลด้วยปากกาเขียนถาวร วางแอบเปิ้ลไว้
ที่อุณหภูมิห้อง 3 วัน ผ่าดูรอยช้ำกับผลแอบเปิ้ลขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ จำนวน 3 ซ้ำ และ
ทำการทดลองซ้ำโดยเปลี่ยนมุมตกกระทบเป็น 15, 20, 25 และ30 องศา ทำการวิเคราะห์ผลหาความ
สัมพันธ์ระหว่างปริมาตรเนื้อช้ำ (VB) กับพลังงานการกระแทก (EI) และพลังงานดูดกลืน (EA)
ผลการทดลองปรากฏว่า ความเสียหายของผลแอบเปิ้ลในรูปของความช้ำมีมากขึ้นเมื่อมุมตกกระทบ
สูงขึ้น เพราะพลังงานกระแทกเพิ่มขึ้น ปริมาตรความช้ำแปรผันตรงกับ Input energy และพลังงานดูดกลืน
(Absorbed energy) (R2 > 0.80) แอบเปิ้ลที่ห่อหุ้มด้วยเชือกกล้วยจะมีปริมาตรรอยช้ำลดลงเมื่อเปรียบเทียบ
กับผลแอบเปิ้ลที่ไม่ได้ห่อหุ้มด้วยตาข่ายที่ถักจากเชือกกล้วย จะเห็นได้ว่าตาข่ายที่ถักด้วยเชือกกล้วยสามารถ
ปกป้องผลแอบเปิ้ลทุกขนาดได้ เมื่อถูกกระแทกที่มุมต่ำกว่าหรือเท่ากับ 20 องศา ความเสียหายปรากฏตั้ง
แต่มุม 25 องศาขึ้นไป และความเสียหายมากขึ้นเมื่อผลแอบเปิ้ลมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ตาข่ายที่ถักจากเชือก
กล้วยยังมีราคาสูงอยู่เมื่อเปรียบเทียบกับโฟมตาข่าย โดยราคาของเชือกกล้วยจะตกอยู่ที่อันละประมาณ 2.5
บาท ขณะที่ราคาของโฟมตาข่ายตกอยู่ที่อันละประมาณ 0.5 บาท