15 มกราคม 2559
ชื่อเรื่อง : ลูกแป้งข้าวหมากและคุณภาพของข้าวหมาก
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นายชนาธิป วงษ์เกษมศิรินางสาวสมพร เมฆแดง
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ. ดร. อาภรณ์ วงษ์วิจารณ์
ที่มา : ปัญหาพิเศษ เรื่อง ลูกแป้งข้าวหมากและคุณภาพของข้าวหมาก
สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ภาควิชาจุลชีววิทยา
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ปี 2543
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
กลุ่มสินค้า : 1531 ผลิตภัณฑ์จากธัญพืช
เทคโนโลยี : เทคโนโลยีชีวภาพและการหมัก
Keyword : ลูกแป้งข้าวหมาก ข้าวหมาก ข้าวเหนียว ยีสต์ เชื้อรา
ลูกแป้งข้าวหมากและคุณภาพของข้าวหมาก
ข้าวหมาก (Sweetened Rice) เป็นอาหารหมักพื้นบ้านชนิดหนึ่งของไทย ซึ่งมีมาแต่โบราณ จัดเป็น
ของหวาน ข้าวหมากทำได้ง่ายและราคาถูก ทำจากข้าวเหนียวนึ่งคลุกกับลูกแป้งข้าวหมาก หมักไว้เป็นเวลา
2-3 วัน ก็ใช้รับประทานได้
ลูกแป้งข้าวหมากเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำข้าวหมาก ลูกแป้งข้าวหมากเป็นแป้งเชื้อ (mold bran)
ชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายดินสอพอง ลูกแป้งที่ใช้ในอุตสาหกรรมมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ ลูกแป้งข้าวหมาก
ลูกแป้งเหล้า และลูกแป้งน้ำส้มสายชู หรือที่เรียก ส่าน้ำส้ม ลูกแป้งทั้ง 3 ชนิด ประกอบด้วยจุลินทรีย์หลาย
ชนิดที่สำคัญ คือเชื้อราที่สมามารถย่อยสลายแป้งเป็นน้ำตาล และยีสต์ซึ่งจะเปลี่ยนน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์
ได้ไม่ดีนัก แต่มีคุณสมบัติผลิตสารระเหยที่ให้กลิ่นหอม คือ เอสเทอร์ ในการศึกษานี้ได้ทดลองนำข้าว
เหนียวกล้องมาทำการหมักแทนการใช้ข้าวเหนียวขาว เนื่องจากข้าวเหนียวกล้องมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่า
แต่ปัญหาคือลักษณะของเนื้อสัมผัสที่แข็งกว่าและรสชาติที่ค่อนข้างเปรี้ยว จึงต้องมีการศึกษาคัดเลือกลูก
แป้งที่มีความเหมาะสม
รูปแบบการศึกษา
การศึกษานี้ได้ทดลองใช้ลูกแป้งข้าวหมากจากแหล่งต่างๆกัน 5 แหล่ง คือ KA , PA, SA, TA และ
TSA พบว่าลูกแป้งข้าวหมากที่เหมาะสมทำให้ได้ข้าวหมากจากข้าวเหนียวกล้องที่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค
คือ รหัส KA รองลงมาคือ SA และระยะเวลาที่ใช้ในการหมักข้าวหมากขึ้นกับจำนวนจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในลูก
แป้งข้าวหมาก