สวัสดี

การพัฒนาเครื่องกลั่นสุราพื้นบ้าน

แชร์:
Favorite (38)

15 มกราคม 2559

 

ชื่อเรื่อง : การพัฒนาเครื่องกลั่นสุราพื้นบ้าน

ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นายณัฐวุฒิ ผางจันทดานางสาวอนาวิล สุขพร

คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์พนมกร ขวาของ

ที่มา : โครงงาน เรื่อง การพัฒนาเครื่องกลั่นสุราพื้นบ้านภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : ห้องสมุด สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

กลุ่มสินค้า : 1551 สุราและเครื่องดื่มที่ได้จากเอทิลแอลกอฮอล์

เทคโนโลยี : เทคโนโลยีการบริหารจัดการ

Keyword : เครื่องกลั่นสุรา สุราพื้นบ้าน

การพัฒนาเครื่องกลั่นสุราพื้นบ้าน

กลุ่มเกษตรกรนาหนองทุ่ม ต.นาหนองทุ่ม อ.แก้งค้อ จ.ชัยภูมิ มีอาชีพเสริมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่

สมัยก่อน คือ การผลิตสุราพื้นบ้าน ซึ่งการผลิตในปัจจุบันจะทำในรูปแบบของการนำยีสต์มาหมักกับน้ำตาล

ในสัดส่วนที่พอเหมาะ โดยภาชนะที่ใช้หมักต้องเป็นสุญญากาศเพื่อป้องกันการปนเปื้อน ตั้งทิ้งไว้ไม่ให้ถูก

แสง 1 สัปดาห์หรือจนกว่าไม่เห็นฟองอากาศ จากนั้นดูดส่วนใสไปกลั่น ซึ่งเครื่องกลั่นที่ใช้มีลักษณะของ

การควบแน่นเจาะรูเพื่อให้สุราไหลออก ผลที่ได้คือเปอร์เซ็นต์แอลกอฮอล์ในขวดแรก (700 cc) อยู่ที่

ประมาณ 40 – 60 ดีกรี ซึ่งถือว่าได้เปอร์เซ็นต์ที่ต่ำและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายด้านพลังงานอย่างมากไม่คุ้มกับ

การลงทุน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพัฒนากระบวนการผลิตสุราพื้นบ้านให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่

กระบวนการเลี้ยงยีสต์ให้มีการเจริญเติมโตที่ดีเพื่อให้ได้เปอร์เซ็นต์แอลกอฮอล์ที่สูงขึ้น การพิจารณา

ระยะเวลาในการหมัก ทั้งนี้รวมถึงกระบวนการกลั่นซึ่งต้องมีการออกแบบเครื่องกลั่นให้มีประสิทธิภาพมาก

ขึ้น

โครงงานนี้ได้ทำการศึกษาถึงการออกแบบเครื่องกลั่นระบบปิดและสร้างเครื่องกลั่นต้นแบบ โดย

ลักษณะเครื่องกลั่นจะเป็นเครื่องกลั่นระบบปิดที่มีชุดควบแน่น มีการป้อนกลับซึ่งสามารถลดสิ่งเจือปนลง

ได้ วัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ การศึกษากระบวนการในการผลิตสุราพื้นบ้านให้เหมาะสมกับต้นทุนการ

ผลิต และ เพื่อพัฒนาเครื่องกลั่นที่ใช้ในการผลิตและทดลองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกลั่นเพิ่มขึ้นมาก

กว่าเดิมอย่างน้อย 10 %

การออกแบบเครื่องกลั่น

เปรียบเทียบข้อบกพร่องของเครื่องกลั่นที่กลุ่มเกษตรกรใช้ และสิ่งที่พัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

เครื่องกลั่น ได้แก่

 

สรุปผลการศึกษา

1. วิธีการหมักที่เหมาะสม โดยนอกจากจะคำนึงถึงแหล่งน้ำตาลกลูโคสแล้วต้องคำนึงถึงปัจจัย

- ค่าความหวานของน้ำตาล ควรมีค่าประมาณ 22 – 24 0Brix

- แหล่งอาหารของยีสต์

- สายพันธุ์ยีสต์ที่เหมาะสม คือ Saccharomyces cerevisiae

2. เครื่องกลั่นให้ปริมาณแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น 17.02 %

3. อุณหภูมิการกลั่นที่เหมาะสมคือ 80 – 84 0C สามารถวัดปริมาณแอลกอฮอล์ที่เหมาะสมได้ 80

– 60 %

4. อัตราการเพิ่มอุณหภูมิ 1.720C / นาที

5. อัตราการกลั่น 33 มิลลิลิตร ต่อนาที

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3122
โทรสาร : 02-4228527