สวัสดี

ตู้อบปลาแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

แชร์:
Favorite (38)

15 มกราคม 2559

ชื่อเรื่อง : ตู้อบปลาแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นายรักชาติ ท่าโพธิ์

คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : -

ที่มา : วิทยานิพนธ์เรื่อง ตู้อบปลาแห้งพลังงานแสงอาทิตย์โปรแกรมวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสถาบันราชภัฎอุบลราชธานี ปี 2545

แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม :ห้องสมุดงานวิจัยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติกรุงเทพมหานคร

กลุ่มสินค้า : 1512 สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์

เทคโนโลยี : การแปรรูปโดยใช้ความร้อน

Keyword : ตู้อบ พลังงานแสงอาทิตย์ ปลาแห้ง

ตู้อบปลาแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของตู้อบปลาแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ โดยใน

การทดลองจะแบ่งเป็น 4 การศึกษาคือ การศึกษาเปรียบเทียบพลังงานความร้อนภายในแผงรับแสงกับ

ภายนอก, การศึกษาเปรียบเทียบพลังงานความร้อนภายในแผงรับแสงกับภายในตู้อบ, การศึกษาเปรียบ

เทียบพลังงานความร้อนภายในตู้อบกับภายนอก และเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์ความชื้นของปลาแก้วแห้ง

ที่ได้จากตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์กับการตากด้วยวิธีธรรมชาติ

ตู้อบปลาแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ที่ออกแบบจะประกอบด้วย 3 ส่วน

1) ส่วนแผงรับแสงอาทิตย์เป็นตู้สังกะสีที่มีขนาด กว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร สูง 0.1 เมตร

พื้นที่รับแสงเป็นสังกะสีแผ่นเรียบเคลือบสีดำปิดด้านบนด้วยกระจกหนา 3 มิลลิเมตร การ

ติดตั้งแผงรับแสงจะเอียงทำมุม 15O กับแนวราบ หันหน้าไปทางทิศใต้

2) ส่วนพัดลมดูดอากาศ ใช้พัดลมแบบหอยโข่งชนิดใบพัดโค้งหน้า ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15

เซนติเมตร ออกแบบให้ติดกับท่อพีวีซี ต่อเชื่อมระหว่าง แผงรับแสงอาทิตย์และตู้อบ

3) ตู้อบ ออกแบบเป็นรูปสี่เหลี่ยม กว้าง 60 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร สูง 50 เซนติเมตร

เจาะรู ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตรไว้ด้านบนของตู้ ด้านละ 5 รู ภายในตู้มีถาด

ตะแกรง 3 ชั้น เพื่อใส่ปลา

โดยหลักการทำงานคือเมื่อพัดลมดูดอากาศถูกเปิดสวิตซ์ให้ทำงานก็จะนำพาอากาศร้อนจาก

แผงรับแสงอาทิตย์ผ่านท่อพีวีซี เข้าสู่ตู้อบ จากผลการวิจัยได้ผลดังนี้

1) การศึกษาเปรียบเทียบพลังงานความร้อนภายในแผงรับแสงกับภายนอกพบว่าอุณหภูมิภาย

ในแผงรับแสงอาทิตย์มีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิภายนอกแผงรับแสงอาทิตย์

2) การศึกษาเปรียบเทียบพลังงานความร้อนภายในแผงรับแสงกับภายในตู้อบพบว่า ค่าเฉลี่ย

ของอุณหภูมิภายในแผงรับแสงอาทิตย์มีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิภายในตู้อบแห้ง

3) การศึกษาเปรียบเทียบพลังงานความร้อนภายในตู้อบกับภายนอกพบว่าค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิ

ภายในตู้อบแห้งมีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิภายนอก

4) การเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์ความชื้นของปลาแก้วแห้ง ที่ได้จากตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์

กับการตากด้วยวิธีธรรมชาติปลาแก้วแห้งจากการอบด้วยตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์

มีความชื้นต่ำกว่าการ อบด้วยวิธีธรรมชาติเล็กน้อย แต่เมื่อเปรียบเทียบด้วยวิธีทางสถิติพบ

ว่าไม่แตกต่างกัน

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3122
โทรสาร : 02-4228527