15 มกราคม 2559
ชื่อเรื่อง : การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการหุงต้มข้าวด้วยตู้อบไอน้ำ
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นายกิตติศักดิ์ วสันติวงศ์, นายทรงพล การะเกตุและ นางสาวอารีรัตน์ อิ่มศิลป์
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร. พิทักษ์ จันทร์เจริญ
ที่มา : งานวิจัย เรื่อง การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการหุงต้มข้าวด้วยตู้อบไอน้ำ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฎสวนดุสิตปี 2546
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : ห้องสมุดงานวิจัยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติกรุงเทพมหานคร
กลุ่มสินค้า : 1531 ผลิตภัณฑ์จากธัญพืช
เทคโนโลยี : การแปรรูปโดยใช้ความร้อน
Keyword : ข้าว หุงข้าว ตู้อบไอน้ำ
การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการหุงต้มข้าวด้วยตู้อบไอน้ำ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะต่างๆ ภายในตู้อบไอน้ำ โดยการนึ่งข้าวสาร
แต่ละชนิด เป็นระยะเวลา 20 นาที ที่มีผลต่อคุณสมบัติทางกายภาพ-เคมี และทดสอบการยอมรับของ
ผู้บริโภคต่อลักษณะเนื้อสัมผัสของข้าวสุกพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 (อะไมโลส ต่ำ) ข้าวพันธุ์ขาวตาแห้ง
(อะไมโลส ปานกลาง) และข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 (อะไมโลส สูง) ได้ผลการทดลองดังนี้
จากการวัดความแตกต่างทางสถิติพบว่า ปริมาณความชื้นก่อนและหลังการหุงต้ม ระดับการ
ขัดสี ปริมาณอะไมโลส ระดับการเกิดเจลาติไนเซชั่นและลักษณะเนื้อสัมผัสของข้าวสุก มีความแตกต่าง
กันอย่างมีนัยสำคัญในข้าวทั้ง 3 ชนิด แต่การกระจายความร้อนและการแทรกผ่านความร้อนของเมล็ด
ข้าวทั้ง 3 พันธุ์ ภายในตู้อบไม่แตกต่างกัน โดยผู้บริโภคยอมรับข้าวสุกพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 มากที่สุด
รองลงมาคือ ข้าวพันธุ์ขาวตาแห้ง และชัยนาท 1 ตามลำดับ