15 มกราคม 2559
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกากฝรั่ง
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นางสาว ณัฐธยาน์ ดารุเทพ นางสาว นันทัชพร ณัฐวัฒนานนทน์
นางสาว อาภาภรณ์ ภูมิไชย
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ชมพูนุช สีห์โสภณ
ที่มา : ปัญหาพิเศษ เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกากฝรั่งภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปี 2541
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : ห้องสมุดสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
กลุ่มสินค้า : 1513 ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้
เทคโนโลยี : การแปรรูปโดยใช้ความร้อน
Keyword : กากฝรั่ง กากฝรั่งกวนปรุงรส แยมกากฝรั่ง
การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกากฝรั่ง
ฝรั่งเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ทางโรงงานอุตสาหกรรมนิยมนำมาทำน้ำผลไม้โดยใช้เครื่องแยกน้ำออก
จากกาก แต่กากฝรั่งที่เป็นผลพลอยได้ไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มพูลค่าผลิตภัณฑ์จึงนำ
กากฝรั่งมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์กากฝรั่งกวนปรุงรสและแยมจากกากฝรั่ง
รูปแบบการศึกษา
จากการศึกษาการผลิตกากฝรั่งกวนปรุงรส พบว่าสูตรที่ผู้บริโภคยอมรับ คือ กากฝรั่งปรุงรสที่มีส่วน
ผสม ดังนี้
- ปริมาณ น้ำตาลทราย 56.82 % ของปริมาณกากฝรั่ง
- น้ำ 27.27% ของปริมาณกากฝรั่ง
- กลูโคสซีรัส (แบะแช) 13.64% ของปริมาณกากฝรั่ง
- เกลือ 1.36% ของปริมาณกากฝรั่ง
- กรดซิติก 0.27% ของปริมาณกากฝรั่ง
โดยคิดจากปริมาณกากฝรั่ง100% และต้องใช้กากฝรั่งมี % Moisture Content เท่ากับ 89.77+ 0.09
อายุการเก็บรักษา 14 วัน ที่อุณหภูมิห้องไม่ทำให้คุณภาพทางประสาทสัมผัสเปลี่ยนไปมากนักและไม่มีความ
แตกต่างทางสถิติ (p>0.05)
จากการศึกษาการผลิตแยมกากฝรั่งโดยทำการศึกษาอัตราส่วนระหว่างน้ำตาลทราย น้ำ ปริมาณ
กรดซิตริก และปริมาณเพคติน อัตราส่วนที่เหมาะสมคือ น้ำตาลทราย 111% , น้ำตาล 31%, กรดซิตริก
0.55% และ สารเพคติน 0.84% ของปริมาณกากฝรั่งเริ่มต้นโดยกำหนดกากฝรั่งเริ่มต้นที่ใช้ในสูตรเป็น
100% และมีของแข็งละลายทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 65 0 Brix
การเปรียบเทียบคุณสมบัติทางประสาทสัมผัสของแยมกากฝรั่ง พบว่า ความสามารถในการทา และ
ความชอบโดยรวมเหมือนกับแยมสับปะรด ตราเบสท์ฟูดส์ และเมื่อเปรียบเทียบค่า pH และ % acidity แยม
จากกากฝรั่งให้ค่า pH และ % acidity น้อยกว่าแยมสับประรด และสตรอเบอร์รี่ ตรา เบสท์ฟูดส์ ส่วนค่า aw
อยู่ระหว่าง แยมสับประรด และแยมสตรอเบอร์รี่
การทดสอบอายุการเก็บรักษาเป็นเวลา14 วัน ที่อุณหภูมิห้องพบว่า ไม่ทำให้คุณสมบัติทางประสาท
สัมผัสเปลี่ยนแปลงไปมากนัก และไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P > 0.05)