15 มกราคม 2559
ชื่อเรื่อง : อิทธิผลของอายุการเก็บเกี่ยวและปริมาณ CO 2 ต่อการเกิดเอทธีลีน
พัฒนาการสุกและอายุการเก็บรักษากล้วยไข่ ในสภาพบรรยากาศ
ดัดแปลง
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นางสาวพรรณิภา ยั่วยล
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ. ดร.สมชาย กล้าหาญ
ที่มา : วิทยานิพนธ์ เรื่อง อิทธิผลของอายุการเก็บเกี่ยวและปริมาณ CO 2
ต่อการเกิดเอทธีลีนพัฒนาการสุกและอายุการเก็บรักษากล้วยไข่
ในสภาพบรรยากาศดัดแปลง
สาขาพืชสวน ภาควิชาพืชสวน
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปี 2543
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : สำนักหอสมุดกลาง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้า
คุณทหารลาดกระบัง
กลุ่มสินค้า : 1513 ผลิตภัณฑ์จากผักและผลไม้
เทคโนโลยี : เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
Keyword : กล้วยไข่/ เอทธิลีน / CO 2
อิทธิพลของอายุการเก็บเกี่ยวและปริมาณ CO 2 ต่อการเกิดเอทธิลีน พัฒนาการสุก
และอายุการเก็บรักษากล้วยไข่ในสภาพบรรยากาศดัดแปลง
กล้วยไข่ เป็นผลไม้เขตร้อน ที่ปลูกเป็นการค้ามากที่จังหวัดกำแพงเพชร สุโขทัย เพชรบุรี กล้วยไข่
ที่ปลูกในประเทศไทยสามารถเก็บเกี่ยวได้ในเดือน สิงหาคม-ตุลาคม อายุการเก็บเกี่ยวกล้วยไข่นับจากออก
ปลี 50-60 วัน หรือผลกล้วยออกสีนวลๆ ก็ตัดได้ โดยอายุการเก็บเกี่ยวกล้วยไข่เป็นปัจจัยสำคัญต่อคุณภาพ
และอายุการเก็บรักษา ปัจจุบันมีการส่งกล้วยไข่ออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศเป็นจำนวนมาก แต่มัก
ประสบปัญหาในเรื่องการเก็บรักษา การบรรจุหีบห่อ และการขนส่ง โดยเฉพาะการส่ออกไปประเทศที่ห่าง
ไกล ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการขนส่งยาวนานกว่ากล้วยจะถึงปลายทาง จึงทำให้ประสบปัญหาด้านคุณภาพ
ของผลกล้วยไม่เป็นไปตามที่ตลาดต้องการ ซึ่งอาจเกิดจากกล้วยไข่สุกก่อนถึงที่จะถึงปลายทาง ดังนั้นการ
ศึกษาวิธีการที่เหมาะสมในการยืดอายุการเก็บรักษาของผลกล้วยไข่มีความสำคัญ เพื่อการแก้ไขปัญหาดัง
กล่าว โดยหากสามารถทำสำเร็จก็จะทำให้มีการส่งออกกล้วยไข่ไปจำหน่ายต่างประเทศได้มากขึ้น
ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาการสุกของกล้วยไข่ ศึกษาผลของอายุการเก็บ
เกี่ยวและปริมาณ CO 2 ต่ออายุการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง และ อุณหภูมิ 16 องศาเซลเซียส และศึกษาอายุ
การเก็บเกี่ยวและปริมาณ CO 2 ต่อพัฒนาการสุก หลังอายุการเก็บรักษาต่างๆ กันนำมาบ่มที่อุณหภูมิห้อง
จากผลการทดลองศึกษาสามารถสรุปผลได้ดังนี้คือ
1. การศึกษาระยะเวลาการสุกของกล้วยไข่ พบว่า กล้วยไข่ที่อายุการเก็บเกี่ยว 35 วัน ใช้เวลา
พัฒนาการสุกนานที่สุด คือ 25.25 วัน ส่วนกล้วยไข่ที่อายุการเก็บเกี่ยว 44 วัน ใช้เวลา 20.66 วัน และค่า TSS
หลังการสุกไม่แตกต่างกันทางสถิติ
2. การศึกษาผลของอายุการเก็บเกี่ยวและปริมาณ CO 2 ต่ออายุการเก็บรักษา
ที่อุณหภูมิห้อง
- กล้วยไข่ที่อายุการเก็บเกี่ยว 35 วัน ไม่เติม CO2 มีอายุการเก็บรักษานานที่สุด 20.22 วัน
- กล้วยไข่เก็บเกี่ยวอายุ 44 วัน เติม CO 2 9 เปอร์เซ็นต์ มีอายุการเก็บรักษาสั้นที่สุด
16.10 วัน โดยที่ปริมาณคลอโรฟิลล์ลดลง ตามอายุการเก็บรักษา
ที่อุณหภูมิ 16 องศาเซลเซียส
- กล้วยไข่ที่อายุการเก็บเกี่ยว 35 วัน ไม่เติม CO 2 เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 16 องศาเซลเซียส
มีอายุการเก็บรักษานานที่สุดคือ 60.55 วัน มีปริมาณ TSS เพิ่มขึ้นตามอายุการเก็บรักษา
- กล้วยไข่เก็บเกี่ยวอายุ 44 วัน เมื่อเติม CO 2 9 เปอร์เซ็นต์ มี TSS สูงสุดเฉลี่ย 22.97
Brix ปริมาณคลอโรฟิลล์สูงสุด 2.01 มิลลิกรัม/ กรัม ส่วนผลกล้วยไข่ที่เติม CO 2 11
เปอร์เซ็นต์ มีคลอโรฟิลล์ต่ำสุด 0.61 มิลลิกรัม ต่อ กรัม
การศึกษาอายุการเก็บเกี่ยวและปริมาณ CO 2 ต่อพัฒนาการสุก หลังอายุการเก็บรักษาต่างๆ กัน
นำมาบ่มที่อุณหภูมิห้อง
- กล้วยไข่ที่อายุการเก็บเกี่ยว 35 วัน ไม่เติม CO 2 และ เติม CO 2 3 เปอร์เซ็นต์ เก็บรักษาที่
อุณหภูมิ 16 องศาเซลเซียส หลังการเก็บรักษา 10 วัน ใช้เวลาการพัฒนาการสุกเฉลี่ย
6.33 วัน อายุการเก็บรักษาเพิ่มขึ้น เวลาการพัฒนาการสุกจะลดลง หลังเก็บรักษา
ประมาณ 30 วัน
- กล้วยไข่อายุการเก็บเกี่ยว 44 วัน เติม CO 2 ที่ 3, 5, 7, 9 และ 11 เปอร์เซ็นต์ ใช้เวลาการ
พัฒนาการสุกสั้นที่สุดคือ 1 วัน หลังการบ่มที่อุณหภูมิห้อง ซึ่งกล้วยไข่ทุกอายุการเก็บ
เกี่ยว และ ทุกอายุการเก็บรักษามีคุณภาพเหมาะสมต่อการรับประทาน