15 มกราคม 2559
ชื่อเรื่อง : ผลของแป้ง น้ำตาลและกระบวนการผลิตที่มีต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์
กล้วยทอดแผ่นบาง
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นางสาวนฤพร กาฬภักดี
นางสาววันวิสาข์ เติมธงชัย
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ. ดร.ระติพร หาเรือนกิจ
ที่มา : ปัญหาพิเศษ เรื่อง ผลของแป้ง น้ำตาลและกระบวนการผลิตที่มีต่อ
คุณภาพของผลิตภัณฑ์กล้วยทอดแผ่นบาง
ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง ปี 2544
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : ห้องสมุดอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณ
ทหารลาดกระบัง
กลุ่มสินค้า : 1513 ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้
เทคโนโลยี : การแปรรูปโดยใช้ความร้อน
Keyword : กล้วยทอด กล้วยทอดแผ่นบาง
ผลของแป้ง น้ำตาล และกระบวนการผลิตที่มีผลต่อ
คุณภาพของผลิตภัณฑ์กล้วยทอดแผ่นบาง
กล้วยเป็นผลไม้ที่คนไทยรู้จักดีที่สุด เนื่องจากเป็นผลไม้คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่ครั้งโบราณ นกจากนี้
ยังเป็นผลไม้ที่ปลูกได้ทุกพื้นที่และทุกภูมิภาคของประเทศ แต่ปัจจุบันกลับพบว่า ประเทศไทยมีการบริโภค
กล้วยในปริมาณที่น้อยกว่าปริมาณการผลิตกล้วย ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดที่จะหาวิธีการในการแปรรูปผลกล้วย
สดให้เป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะช่วยยืดอายุการเก็บรักษาให้เก็บได้นานขึ้น และทำให้สามารถบริโภคกล้วยได้
ตลอดทั้งปี อันเป็นการช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกล้วย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณแป้งและน้ำตาลในกล้วยน้ำว้าที่สภาวะต่างๆ กัน โดย
ทำการคัดเลือกวัตถุดิบที่มีระดับความสุกต่างๆ กัน และศึกษาสภาวะการผลิตที่มีต่อคุณภาพของกล้วยทอด
แผ่นบาง
จากการศึกษาพบว่า กล้วยที่ระดับความสุกที่ 1 คือมีแป้ง 8 - 9 % และน้ำตาลประมาณ 1 – 2 % มี
ความเหมาะสมที่จะใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตมากที่สุด โดยจะทำให้ผลิตภัณฑ์กล้วยทอดที่ผลิตได้มีสีเหลือง
อ่อน คล้ายมันฝรั่งทอดกรอบมากที่สุด ขณะที่เมื่อกล้วยมีปริมาณน้ำตาลมากกว่า 10% จะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่
ได้มีสีน้ำตาลเข้ม ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค
จากการศึกษาสภาวะการผลิต พบว่า การอบกล้วยด้วยตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 60 0C เป็นเวลา 15
นาที จะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นได้รับการยอมรับจากกลุ่มผู้ทดสอบชิมมากที่สุด ทั้งด้านสี ลักษณะปรากฏ
ความกรอบ และความชอบรวม ซึ่งจากผลการศึกษาข้างต้นสามารถสรุปแผนภาพการผลิตกล้วยทอดแผ่น
บางที่เหมาะสมได้ดังนี้