15 มกราคม 2559
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาผลิตภัณฑ์มัฟฟินเจ
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นางสาวจุฑารัตน์ ฮั่นบุญศรี , นางสาวลัดดาวัลย์ เชื้อเจริญ
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์นภัสรพี เหลืองสกุล
ที่มา : ปัญหาพิเศษ เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์มัฟฟินเจ
ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร โครงการคณะอุตสาหะกรรมเกษตร
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปี 2546
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : ห้องสมุดอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณ
ทหารลาดกระบัง
กลุ่มสินค้า : 1541 ผลิตภัณฑ์เบเกอร์รี่
เทคโนโลยี : การแปรรูปโดยใช้ความร้อน
Keyword : มัฟฟินเจ มัฟฟิน
การพัฒนาผลิตภัณฑ์มัฟฟินเจ
ปัจจุบันคนหันมาบริโภคอาหารเจกันมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีความเชื่อว่าทำให้ร่างกายแข็งแรง
และเป็นการสร้างกุศล ไม่ก่อให้เกิดการเบียดเบียนสัตว์ อาหารเจส่วนใหญ่นิยมทำเป็นอาหารคาว ทำมาจาก
พืช โดยไม่มีเนื้อสัตว์หรือส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ จึงเป็นอาหารที่มีคุณค่าและมีผลดีต่อสุขภาพ ที่สำคัญ
เป็นอาหารที่ปราศจากคอเลสเตอรอล
มัฟฟินเป็นขนมอบชนิดหนึ่งที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนักในประเทศไทย แต่นิยมเป็นอาหารเช้าที่
รับประทานกับกาแหและน้ำชาในประเทศอังกฤษ มัฟฟินจะมีลักษณะเฉพาะตัวต่างจากเค้กตรงที่ ต้องใส่
พิมพ์เป็นถ้วย เนื้อขนมมีความเบา และนุ่มขึ้นเงา ผิวนอกเป็นสีทอง ลักษณะหน้าขนมจะมน กลม และภาย
ในไม่มีถ้ำอากาศ จึงเหมาะกับการทำเป็นอาหารเจ
มัฟฟินเจ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่ห่วงใยสุขภาพและชื่นชอบในการรับประทานขนมอบ ผู้
วิจัยจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาสูตรมัฟฟินเจขึ้น
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสูตรพื้นฐานที่เหมาะสมในการทำผลิตภัณฑ์มัฟฟิน และผลิต
ภัณฑ์มัฟฟินเจ
การศึกษาในขั้นแรกได้ทดลองหาสูตรมัฟฟินพื้นฐานที่เหมาะสม พบว่า สูตรที่กลุ่มผู้ทดสอบชิมให้
การยอมรับ ประกอบด้วย แป้งสาลีอเนกประสงค์ 31.11 % , ผงฟู 0.20 % , โซเดียมไบคาร์บอเนต 0.25 % ,
น้ำตาล 18.66 % , เนยสดเหลว 9.33 % , น้ำมันพืช 9.33 % , ไข่ไก่ 7.78 % และนมสด 9.33 % ผลิตภัณฑ์ที่ได้
มีเนื้อสัมผัสที่เนียน มีความฟู นุ่ม ชุ่มน้ำ มีความร่วน กลุ่มผู้ทดสอบชิมให้คะแนนการยอมรับในระดับปาน
กลาง เมื่อนำไปวิเคราะห์ พบว่า ผลิตภัณฑ์มีความชื้น 15.9 ± 0.4 % , aw(วอเตอร์แอติวิตี) 0.79±0.01 ,
ปริมาตรจำเพาะ (ซม3/กรัม) 2.6±0.02 และความแน่นเนื้อ 37.6±0.36
จากนั้นนำสูตรมัฟฟินพื้นฐานมาพัฒนาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์มัฟฟินเจ โดยจากการทดลองพบว่า สูตร
ที่กลุ่มผู้ทดสอบชิมให้การยอมรับ ประกอบด้วย แป้งสาลีอเนกประสงค์ 30.96 % , ผงฟู 0.21 % , โซเดียม
ไบคาร์บอเนต 0.25 % , น้ำตาล 18.57 % , น้ำมันถั่วเหลือง 18.57 % , นมถั่วเหลือง 30.64 % , แป้งถั่วเหลือง
0.80 % และกลิ่นวานิลา 0.62 % ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีลักษณะใกล้เคียงกับสูตรพื้นฐาน คือ มีลักษณะปรากฏที่ดี
ปริมาตรลดลงเล็กน้อย เนื้อสัมผัสนุ่ม ชุ่มน้ำ มีความฟู แต่มีความแน่นเนื้อมากกว่าสูตรพื้นฐาน และมีกลิ่นถั่ว
เพียงเล็กน้อย กลุ่มผู้ทดสอบชิมให้คะแนนการยอมรับในระดับปานกลาง เมื่อนำผลิตภัณฑ์มาวิเคราะห์ พบ
ว่า ผลิตภัณฑ์มีความชื้น 22.1 ± 0.20% , aw(วอเตอร์แอติวิตี) 0.89±0.01 , ปริมาตรจำเพาะ (ซม3/กรัม)
2.1±0.00 และความแน่นเนื้อ 50.9±1.06