15 มกราคม 2559
ชื่อเรื่อง : การปรับปรุงเครื่องลดความชื้นแบบกระบะ( Modification of a Flatbed
Dryer )
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นายทวีชัย นิมาแสง
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : -
ที่มา : วิทยานิพนธ์ เรื่อง การปรับปรุงเครื่องลดความชื้นแบบกระบะ
( Modification of a Flat-bed Dryer ) ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ คณะ
วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2543
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : ห้องสมุดสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
กลุ่มสินค้า : 1513 ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้
เทคโนโลยี : การแปรรูปโดยใช้ความร้อน
Keyword : ลำไย เครื่องลดความชื้นแบบกระบะ ความชื้น
การปรับปรุงเครื่องลดความชื้นแบบกระบะ
(Modification of a Flat-bed Dryer)
เครื่องลดความชื้นสามารถแบ่งออกตามลักษณะการให้ความร้อนได้เป็น 2 ชนิด คือ Solid
Surface Transfer Dryer และ Adiabatic Dryer ชนิดแรกจะมีการถ่ายเทความร้อนแบบการนำ (Conduction)
โดยวัตถุที่ต้องการลดความชื้นจะถูกวางแผ่บนพื้นผิวที่ได้รับความร้อน ได้แก่ เครื่องลดความชื้นแบบลูก
กลิ้ง (Drum Dryer) สำหรับชนิดที่สอง จะอาศัยอากาศทำหน้าที่ถ่ายเทความร้อนให้กับวัสดุด้วยวิธีการพา
(Tumnel dryer) ได้แก่ เครื่องลดความชื้นแบบกระบะ (Flat-bed dryer)
เครื่องลดความชื้นแบบกระบะ ประกอบด้วย เตาเผาเชื้อเพลิง พัดลม และกระบะบรรจุวัตถุดิบ
อากาศร้อนจากการเผาไหม้จะถูกพัดลมขับเข้าสู่ช่องซึ่งอยู่ส่วนล่างของกระบะ ลอดผ่านตะแกรง และแทรก
ไปตามกองวัสดุจากด้านล่างขึ้นสู่ด้านบน
การอบแห้งด้วยเครื่องชนิดนี้ เมื่อนำมาใช้ลดความชื้นกับผลลำไย พบว่า ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพไม่
สม่ำเสมอกัน เกิดการสูญเสีย และมีความยุ่งยากในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ระหว่างการขนย้าย ยังทำให้
เปลือกของลำไยแตกหรือบุบ เกิดการสูญเสียของผลผลิตไปบางส่วน
วิธีการวิจัย
เครื่องลดความชื้นแบบปรับปรุง
1. ลักษณะการทำงานของเครื่องลดความชื้นแบบปรับปรุงนี้ จะมีทิศทางการไหลของอากาศร้อนผ่านวัตถุ
ดิบจากด้านบนลงสู่ด้านล่าง ซึ่งต่างจากแบบดั้งเดิมที่มีทิศทางการไหลของอากาศร้อนจากด้านล่างขึ้นสู่ด้าน
บน นับเป็นข้อได้เปรียบที่สามารถทยอยนำผลผลิตที่อยู่ส่วนบนซึ่งแห้งก่อนไปเก็บรักษาไว้ ส่วนผลผลิตที่
อยู่ระดับถัดลงไปซึ่งยังแห้งไม่ได้ที่ก็ถูกอบต่อไป
2. ส่วนประกอบของเครื่องอบแห้งแบบปรับปรุง
2.1 กระบะบรรจุวัตถุดิบ (Container) มีความจุ 0.85 เมตร3 ชั้นตะแกรงรองรับผลผลิตอยู่สูงจากพื้น 0.15
ม. ด้านหน้ามีช่องกระจกสำหรับตรวจสอบผลผลิตขณะทำการอบ ผนังด้านหลังซึ่งเชื่อมต่อกับห้องความ
ร้อน มีช่องสำหรับให้อากาศไหลเข้าอยู่ชิดกับขอบบน และช่องอากาศไหลออกอยู่ใต้ตะแกรง
2.2 ห้องความร้อน (Heat chamber) มีส่วนประกอบภายในที่สำคัญ ได้แก่
2.2.1 พัดลมแบบแรงเหวี่ยงชนิดใบพัดโค้งหน้า ทำงานที่ความเร็ว 1,450 รอบต่อนาที ใช้
มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 186 วัตต์ เป็นต้นกำลัง
2.2.2 หัวเผาก๊าซ และอุปกรณ์ประกอบ ได้แก่ Regulator ท่อก๊าซ วาล์วปิด-เปิด และถังก๊าซ
FR 0408
2.2.3 ระบบควบคุมความร้อนอัตโนมัติ อาศัยโซลินอยด์วาล์วทำหน้าที่ปิด-เปิดการไหลของก๊าซ
โดยมีชุดเทอร์โมสแตตทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิภายในกระบะ
3. การทดสอบเบื้องต้น
3.1 การทดสอบความเร็ว และอัตราการไหลของอากาศ โดยตรวจวัดความเร็วของอากาศที่ไหลผ่าน
ช่องซึ่งเชื่อมระหว่างห้องความร้อนกับกระบะบรรจุ
4. การทดลองอบลำไย
4.1 วิธีการทดลอง
4.1.1 บรรจุลำไยสดเป็นสามชั้นๆละ 150 ก.ก. รวม 450 ก.ก.
4.1.2 อบที่อุณหภูมิ 800 C และความดันของก๊าซ 0.52 บาร์
4.1.3 บันทึกข้อมูลต่างๆ ได้แก่ น้ำหนักตัวอย่าง อุณหภูมิ ความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง และกระแส
ไฟฟ้า
4.1.4 เมื่อลำไยชั้นบนแห้งก็ขนถ่ายออกจากกระบะ แล้วจึงอบลำไยที่เหลือต่อไป กระทั่งลำไย
ชั้นต่อไปแห้ง ถือเป็นการสิ้นสุดการทดลอง
ผลการทดลอง
จากการทดลองพบว่า ใช้เวลาในการอบแห้งลำไยชั้นบน ชั้นกลาง และชั้นล่าง เท่ากับ 35, 45,
และ 52 ชั่วโมง ตามลำดับ ได้ผลผลิตลำไยแห้งรวม 138.8 กิโลกรัม ปริมาณก๊าซหุงต้ม และกระแสไฟฟ้า
ที่ใช้ เท่ากับ 27.9 กิโลกรัม และ 22.36 หน่วย ตามลำดับ (ตารางที่ 3)
ตาราง