15 มกราคม 2559
ชื่อเรื่อง : การผลิตไคติเนสของเชื้อราที่ทนอุณหภูมิสูงโดยวิธีการหมักในสภาพ
อาหารแข็ง
ชื่อผู้เขียน : นางสาวกิ่งจันทน์ จุมพลหล้า
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.อภิญญา ผลิโกมล
ที่มา : วิทยานิพนธ์เรื่องการผลิตไคติเนสของเชื้อราที่ทนอุณหภูมิสูงโดยวิธี
การหมักในอาหารแข็ง
สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี 2544
แหล่งสืบค้นข้อมูลฉบับเต็ม : สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กลุ่มสินค้า : 1549 ผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ
เทคโนโลยี : เทคโนโลยีชีวภาพและการหมัก
Keyword: ไคติเนส เชื้อรา Aspergillus fumigatus SP 6 อาหารแข็งเปลือกกุ้งบด
lactic acid bacteria (LAB)
การผลิตไคติเนสของเชื้อราที่ทนอุณหภูมิสูงโดยวิธีการหมักในสภาพอาหารแข็ง
ปัจจุบันวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมมีเพิ่มมากขึ้น และมีการนำมาใช้
ประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งเศษกุ้งที่จากอุตสาหกรรมกุ้งแช่แข็งมีจำนวนมาก แนวทางหนึ่งที่สามารถเพิ่ม
มูลค่าได้คือการนำมาผลิตไคตินและไคโตซาน โดยมีไคติเนสเป็นเอนไซม์ย่อยสลายไคติน ซึ่งไคตินเป็น
สารโพลิเมอร์ชีวภาพที่มีปริมาณมากรองจากเซลลูโลสและสามารถแยกได้จากเปลือกสัตว์มีปล้องเช่น กุ้ง ปู
แกนปลาหมึก หรือเปลือกตัวไหม เป็นต้น
สำหรับเอนไซม์ไคติเนส เป็นเอนไซม์ที่สามารถย่อยสลายไคติน การศึกษาเพื่อหาจุลินทรีย์ที่
สามารถย่อยสลายไคตินได้จะเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำมาใช้เพิ่มมูลค่าเปลือกกุ้งซึ่งเป็นเศษเหลือทิ้ง
จากอุตสาหกรรมการผลิตก็ที่เป็นสินค้าหลักของประเทศได้อีกทางหนึ่ง
ดังนั้นการศึกษานี้จึงคัดเลือกเชื้อราที่ทนอุณหภูมิสูงและสามารถผลิตไคติเนสได้บนอาหารแข็งที่มี
เปลือกกุ้งหรือกระดองปูร่วมกับ lactic acid bacteria (LAB) และคัดเลือกวัสดุเหลือทิ้งทางอาหารหรือ
การเกษตรนำมาผสมในระบบเพื่อให้ได้ผลผลิตไคติเนสสูงสุด และเป็นการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือทิ้ง ลด
ปริมาณขยะ พร้อมทั้งสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตไคติเนส
ขั้นตอนการศึกษาเริ่มจากเก็บตัวอย่างดิน จาก น้ำพุร้อนจากเชียงใหม่ ชายหาดจันทบุรี ระยอง
ชลบุรีนำมาคัดเลือกเชื้อราต่าง ๆ คัดเลือกเชื้อราที่สามารถผลิตไคติเนสในอาหาร Enzyme production
meduim (EPM) แล้วทดสอบความสามารถในการผลิตไคติเนสในอาหารแข็งที่มีเปลือกกุ้งบด เปรียบเทียบ
กระดองปูบด
หลังจากนั้นศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตไคติเนสของเชื้อราไอโซเลท SP 6 โดยเพาะเลี้ยง
เชื้อราไอโซเลท SP 6 ตามสภาวะที่เหมาะสม ในอาหารแข็งเปลือกกุ้งสกัดผสมวัตถุดิบทางการเกษตรอื่นๆ
เช่น ฟางข้าวโดยไม่เติม อาหารพื้นฐาน หลังจากนั้นนำมาสกัด crude enzyme เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการ
ทำงานของเอนไซม์
จากการแยกเชื้อราที่สามารถใช้ colloidal chitin เป็นแหล่งคาร์บอนจากตัวอย่างดิน สามารถแยกได้
64 ไอโซเลท แล้วนำมาทดสอบการผลิตไคติเนสโดยเลี้ยงใน Enzyme production meduim (EPM)
ประกอบด้วย colloidal chitin ร้อยละ 0.5 ซึ่งเพาะเลี้ยงร่วมกับ Lactobacillus sp. PJ15 พบว่าเชื้อรา 8 ไอ
โซเลท ให้ค่าไคติเนสสูงสุด 85.86-171.57 mU/ml ส่วนการทดสอบเชื้อรา 8 ไอโซเลท ในอาหารแข็ง
เปลือกกุ้งบดเปรียบเทียบกระดองปูบด พบว่า เชื้อราไอโซเลท SP 6 เพาะเลี้ยงในเปลือกกุ้งบดให้ค่าไคติน
สูงสุด 10.31 mU/ml เมื่อศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยา พบว่าเป็น Aspergillus fumigatus ซึ่งแยกได้จากดิบ
น้ำพุร้อน สันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
สภาวะที่เหมาะสมของ Aspergillus fumigatus SP 6 คือ เพาะเลี้ยงในอาหารแข็งเปลือกกุ้งสกัด
ปริมาณ 2 กรัม ผสมฟางข้าว 2 กรัม บ่มที่ 30 องศาเซลเซียส นาน 7 วัน ใช้เชื้อตั้งต้น 3 มล. ในรูปเส้นใย
และสปอร์แขวนลอย ให้ไคติเนสสูงสุด 19.40 mU/gIDS