สวัสดี

การศึกษาการแพร่ของสารกันเสียในกลูโคแมนแนนฟิล์ม

แชร์:
Favorite (38)

15 มกราคม 2559

ชื่อเรื่อง: การศึกษาการแพร่ของสารกันเสียในกลูโคแมนแนนฟิล์ม
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง: ผศ.ดร. อนุวัตร แจ้งชัด
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา: รศ.วิชัย หฤทัยธนาสันติ์
ที่มา: รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการการศึกษาการแพร่ของสารกัน
เสียในกลูโคแมนแนนฟิล์ม
ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม: ห้องสมุดงานวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
กลุ่มสินค้า: 1532 แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง
เทคโนโลยี: เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์
Keyword: ฟิล์ม แป้งบุก กรดซอร์บิก ทุเรียนกวน อายุการเก็บรักษา

 

การศึกษาการแพร่ของสารกันเสียในกลูโคแมนแนนฟิล์ม

ในปัจจุบัน ฟิล์มพลาสติก นับเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายชนิดหนึ่ง เนื่องจากฟิล์มมีลักษณะยืดหยุ่นได้ดี สามารถปกป้องผลิตภัณฑ์อาหารจากปัจจัยที่จะส่งผลเสียต่อผลิตภัณฑ์อาหารได้ แต่ด้วยความนิยมและแพร่หลายในการใช้ฟิล์มพลาสติกนี่เอง จึงเกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นสารสังเคราะห์ ซึ่งใช้ระยะเวลานานมาก กว่าจะย่อยสลาย หรือหากนำไปทำลายด้วยการเผา จะทำให้เกิดก๊าซที่เป็นพิษ ต่อทั้งสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม

เพื่อการแก้ปัญหาดังกล่าว จึงได้มีความสนใจในการผลิตฟิล์มที่สามารถย่อยสลายได้ด้วย กระบวนการทางชีวภาพ (Bio-degradable film) รวมทั้งฟิล์มที่สามารถบริโภคได้ (Edible film) ซึ่งผู้บริโภค สามารถรับประทานฟิล์มดังกล่าวได้ โดยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งหากผู้บริโภคไม่ต้องการจะรับประทาน ฟิล์มดังกล่าวก็สามารถย่อยสลายในธรรมชาติได้ จึงไม่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการศึกษานี้ ได้นำแป้งบุกมาใช้เป็นส่วนประกอบหลักของการผลิตฟิล์ม เนื่องจากเมื่อละลาย จะมีความหนืดสูง เพื่อใช้ร่วมกับสารเพิ่มความเป็นพลาสติก หรือ Plasticizer เพื่อลักษณะของฟิล์มที่ดีขึ้น เช่น มีความต้านทานน้ำ รวมทั้งการซึมผ่านของไอน้ำและก๊าซต่างๆ รวมทั้งได้นำฟิล์มที่ผลิตได้ นำมาใช้ในการบรรจุอาหารที่มีความชื้นปานกลาง (intermediate moisture food) ซึ่งพบว่าฟิล์มดังกล่าว สามารถยืดอายุการเก็บ-รักษาอาหารได้นานขึ้น จึงช่วยเพิ่มระยะเวลาในการจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี

 

  1. วัตถุดิบ สารเคมีและอุปกรณ์
  • แป้งบุก (ความหนืด 1,880 cp ที่ 1%โดยน้ำหนัก/ปริมาตรน้ำ)
  • โปแตสเซียมซอร์เบท (Potassium sorbate, K-sorbate)
  • น้ำกลั่น
  • กลีเซอรีน (glycerin)
  • ซอร์บิทอล (sorbital)
  • ถาดเมลามีนขนาด 10x15นิ้ว
  • ตู้อบลมร้อน (Hot-air Oven)

 

3. สรุปผลการดำเนินงาน

จากการทดสอบการนำฟิล์มจากแป้งบุกที่ได้ ไปใช้ประโยชน์ในอาหารที่มีความชื้นปานกลาง ซึ่งได้เลือกผลิตภัณฑ์ทุเรียนกวนที่มีการเติมน้ำตาลทรายขาวร้อยละ 10 กวนด้วยไฟอ่อนๆ จนมีสีเหลืองปนน้ำตาล และปั้นเป็นแท่งกลมยาว ประมาณ 20 ซม. เส้นผ่านศูนย์-กลางประมาณ 4 ซม. เปรียบเทียบกับการห่อทุเรียนกวนด้วยพลาสติกโพลีโพรพีลีน (PP) โดยเก็บรักษาหลังการห่อ ที่อุณหภูมิ 30±20

ผลการทดสอบพบว่า ทุเรียนกวนที่ห่อด้วยฟิล์มจากแป้งบุกที่ผลิตได้ สามารถยืดอายุการเก็บรักษาทุเรียนกวนได้เป็นระยะเวลานานถึง 10 สัปดาห์ ซึ่งเป็นอายุการเก็บรักษาที่นานกว่าทุเรียนกวนห่อด้วยพลาสติกโพลีโพรพีลีน ถึงแม้จะได้มีการเติม K-sorbate ปริมาณ 13.4% ของน้ำหนักทุเรียนกวนเพื่อห่อด้วยพลาสติกโพลีโพรพีลีน ก็ไม่สามารถยืดอายุการเก็บรักษาทุเรียนกวนดังกล่าวเทียบเท่ากับการใช้ฟิล์มจากแป้งบุกได้

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3122
โทรสาร : 02-4228527