สวัสดี

รายงานวิเคราะห์ภาวะอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูป (ประเทศตุรกี)

แชร์:
Favorite (38)

25 ธันวาคม 2551

รายงานวิเคราะห์ภาวะอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูป (ประเทศตุรกี)
ประเทศตุรกีมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อเกษตรกรรม จากข้อมูลล่าสุด
ปี 2551 ของ Turkish Statistical Institute และ Eurostat พบว่า ตุรกีมีพ้นื ที่การเกษตรประมาณ 27
ล้านเฮกตาร์ (EU เท่ากับ 162 ล้านเฮกตาร์) คิดเป็นร้อยละ 16.7 ของ EU ในตุรกีมีผู้ถือครองที่ดิน
เกษตรประมาณ 3 ล้านคน ซึ่งทั้งหมดเป็นเกษตรกรแบบครอบครัวยังชีพหรือกึ่งยังชีพ อัตรา
เฉลี่ยขนาดพื้นที่เกษตรเท่ากับ 6.5 เฮกตาร์ (EU เท่ากับ 16 เฮกตาร์)
โครงสร้างอุตสาหกรรมอาหารของตุรกี
อุตสาหกรรมอาหารของตุรกีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและเป็นระบบ มีทั้งการผลิตเพื่อ
การบริโภคในประเทศและส่งออก เนื่องด้วยสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศน์ที่อุดมสมบูรณ์ทำให้
ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันตุรกีเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรอาหารรายสำคัญของโลก โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในแถบตะวันออกกลางและทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา
อย่างไรก็ดี การขอเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของตุรกีซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2545 (คาดว่าจะ
ใช้เวลานานถึง 10 ปี) มีผลกระทบอย่างยิ่งต่อภาคอุตสาหกรรมเกษตร-อาหารซึ่งมีความสำคัญต่อ
โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ โดยภาคอุตสาหกรรมเกษตร-อาหารต้องมีการปรับโครงสร้างเพื่อ
ให้มีความสอดคล้องกับ Common Agricultural Policy (CAP) ของ EU อีกทั้งยังต้องการการ
ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาอีกมาก เพื่อยกระดับมาตรฐานด้านคุณภาพและสุขอนามัยให้เป็นที่
ยอมรับและทัดเทียมกับระดับสากล นอกจากนี้รัฐบาลตุรกียังต้องเร่งดำเนินการปรับโครงสร้างการ
จัดสรรที่ดินเพื่อการเกษตรเพื่อเพิ่มระดับผลผลิตให้สามารถรองรับระบบอุตสาหกรรมการผลิตแบบ
เครื่องจักรตลอดจนเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยได้ เหล่านี้จะส่งผลให้โครงสร้างการผลิตอาหาร
ของตุรกีเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
ข้อมูลล่าสุดของกระทรวงเกษตรฯของตุรกี (Ministry of Agriculture and Rural Affairs,
MARA) ระบุว่า ภาคอุตสาหกรรมอาหารประกอบด้วยจำนวนบริษัทประมาณ 25,000 บริษัทและ
แรงงานจำนวนประมาณ 400,000 คน ร้อยละ 90 ของบริษัทเหล่านี้เป็นอุตสาหกรรมขนาดกลาง
และขนาดย่อม (Small and Medium-Sized Enterprises, SMEs) ที่เหลือประมาณร้อยละ 10 เป็น
บริษัทขนาดใหญ่ สัดส่วนอุตสาหกรรมอาหารของตุรกีอยู่ที่ภาคเอกชนเป็นส่วนใหญ่เป็นผลจาก
การปฏิรูประบบเศรษฐกิจครั้งใหญ่นับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา ซึ่งเน้นการควบรวมกิจการของ
ภาครัฐและเอกชนเข้าด้วยกัน (Privatization of State Enterprises)

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3122
โทรสาร : 02-4228527