19 กุมภาพันธ์ 2559
ชื่อเรื่อง : การอบแห้งหน่อไม้ด้วยไอนํ้าร้อนยวดยิ่ง
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นายทวีชัย วงศ์ศักดิ์ไพโรจน์
คณะทำ งาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : ศ.ดร. สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ / อาจารย์สมบูรณ์ เวชกามา
ที่มา : ปัญหาพิเศษ เรื่อง การอบแห้งหน่อไม้ด้วยไอนํ้าร้อนยวดยิ่ง สาขาวิชา
เทคโนโลยีพลังงาน คณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ
จอมเกล้าธนบุรี ปีการศึกษา 2543
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
กลุ่มสินค้า : 1513 ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้
เทคโนโลยี : การแปรรูปโดยใช้ความร้อน
Keyword : การอบแห้ง แบบจำ ลอง ผัก ไอนํ้าร้อนยวดยิ่ง หน่อไม้แห้ง
การอบแห้งหน่อไม้ด้วยไอนํ้าร้อนยวดยิ่ง
หน่อไม้เป็นพืชอาหารที่มีผลผลิตออกมามากในช่วงฤดูฝน ทำ ให้ราคาตกตํ่า การถนอมอาหารเป็น
วิธีการหนึ่งในการแก้ปัญหาสินค้าล้นตลาด ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากหน่อไม้ ที่นิยม ได้แก่ หน่อไม้แห้ง
หน่อไม้ต้มบรรจุปี๊บ หน่อไม้ดอง หน่อไม้แห้งที่วางขายในตลาดทั่วไปจะใช้วิธีตากแห้งทำ ให้คุณภาพไม่ดี
เท่าที่ควร การอบแห้งโดยใช้ไอนํ้าร้อนยวดยิ่งจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยรักษาคุณภาพ ในการศึกษานี้จะหา
วิธีการอบแห้งหน่อไม้ที่เหมาะสม โดยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการอบแห้งด้วยไอนํ้าร้อนยวดยิ่งกับการอบ
แห้งด้วยลมร้อนอุณหภูมิสูง และลมร้อนอุณหภูมิตํ่า
ผลการศึกษาพบว่าการอบแห้งหน่อไม้ด้วยไอนํ้าร้อนยวดยิ่งและลมร้อนที่อุณหภูมิ 120 องศา
เซลเซียส ที่ความชื้นเริ่มต้นค่าเดียวกัน อัตราอบแห้งด้วยลมร้อนสูงกว่าการอบแห้งด้วยไอนํ้าร้อนยวดยิ่ง
ขณะที่การอบแห้งที่อุณหภูมิ 140 oC และ 160 oC ที่ความชื้นเริ่มต้นค่าเดียวกัน อัตราการอบแห้งของทั้งสองตัวกลางใกล้เคียงกัน สารให้ความขมในหน่อไม้สามารถสลายตัวระหว่างกระบวนการอบแห้งด้วยไอนํ้าร้อนยวดยิ่งและลมร้อนอุณหภูมิสูง คุณภาพของหน่อไม้ในด้านสีหลังการอบแห้งด้วยลมร้อนจะดีกว่าการอบแห้งด้วยไอนํ้าร้อนยวดยิ่งที่อุณหภูมิเดียวกัน แต่การอบแห้งด้วยลมร้อนอุณหภูมิสูงตลอดการอบแห้งทำ ให้คุณภาพด้านสีของหน่อไม้อยู่ในเกณฑ์ไม่ดีเมื่อเทียบกับหน่อไม้ตากแห้ง
แบบจำ ลองทางคณิตศาสตร์ที่นำ มาใช้ทำ นายอัตราการอบแห้ง ซึ่งมีสมมติฐานการแพร่ความชื้นและ
การถ่ายเทมวลที่ผิวเป็นกลไกควบคุมการอบแห้ง สามารถทำ นายการอบแห้งได้ค่อนข้างดีทั้งการอบแห้งด้วย
ไอนํ้าร้อนยวดยิ่งและลมร้อน จากผลการคำ นวณอัตราการอบแห้งจากแบบจำ ลองทางคณิตศาสตร์พบว่า
ความเร็วที่เหมาะสมในการอบแห้งหน่อไม้อยู่ในช่วง 1.5-2.0 m/s