19 กุมภาพันธ์ 2559
ชื่อเรื่อง : การอบแห้งข้าวเปลือกโดยเทคนิคฟลูอิไดซ์เบดด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่ง
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นายอิศเรศ ธุชกัลยา
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : ศ.ดร. สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ อาจารย์สมบูรณ์ เวชกามา
ที่มา :วิทยานิพนธ์เรื่องการอบแห้งข้าวเปลือกโดยเทคนิคฟลูอิไดซ์เบดด้วยไอ
น้ำร้อนยวดยิ่ง
สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน คณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ปีการศึกษา 2543
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
กลุ่มสินค้า : 1531 ผลิตภัณฑ์จากธัญพืช
เทคโนโลยี : เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
Keyword : ข้าวเปลือก ข้าวนึ่ง ไอน้ำร้อนยวดยิ่ง การอบแห้ง
การอบแห้งข้าวเปลือกโดยเทคนิคฟลูอิไดซ์เบดด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่ง
ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญ ในแต่ละปีชาวนาผลิตข้าวได้ประมาณ 19-21 ล้านตัน
ข้าวเปลือก ซึ่ง 2 ใน 3 ใช้บริโภคภายในประเทศ ปัญหาที่พบหลังงเก็บเกี่ยวคือความชื้นของข้าวเปลือกทำให้
เก็บรักษาไว้ได้ไม่นาน การอบแห้งเเป็นกระบวนการไล่ความชื้นออกจากวัสดุโดยการระเหยอาศัยอากาศ
เป็นตัวกลางถ่ายเทความร้อน การนำข้าวเปลือกไปนึ่งระยะเวลาสั้นๆจะช่วยลดความเหนียวของข้าวสุก เป็น
การทำให้ข้าวเปลี่ยนสภาพคล้ายข้าวเก่า ซึ่งจะตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในประเทศ ปัจจุบันโรงสี
ข้าวขนาดใหญ่มีการนำระบบ Cogeneration มาใช้ ซึ่งมีการผลิตไอน้ำใช้อยู่ ดังนั้นการใช้เทคนิคเทคนิคฟลูอิ
ไดซ์เบดด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่งจึงเป็นไปได้ที่จะนำไอน้ำมาใช้ในการอบแห้งข้าวเปลือกแทนอากาศร้อน
เครื่องอบแห้งที่ใช้ในการทดลองนี้เป้นเครื่องอบแห้งแบบฟลูอิไดซ์เบดชนิดอบแห้งเป็นงวด
ลักษณะการทำงานเริ่มต้นจาการป้อนไอน้ำเข้าระบบ ไอน้ำจะถูกทำให้ร้อนโดยอุปกรณ์ให้ความร้อนกลาย
เป็นไอน้ำร้อนยวดยิ่ง หลังจากนั้นจะผ่านห้องอบแห้งเพื่อลดความชื้นของข้าวเปลือก ผ่านต่อไปยังเครื่อง
ดักฝุ่น เพื่อกำจัดฝุ่นและเม็ดลีบที่ปนมากับข้าวเปลือก โดยที่ไอน้ำในระบบถูกหมุนเวียนโดยพัดลม เครื่อง
อบแห้งด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่ง มีอุปกรณ์หลักประกอบด้วย ห้องอบแห้ง รูปทรงกระบอกทำด้วยสแตนเลส
อุปกรณ์ให้ความร้อน พัดลม เครื่องดักฝุ่นแบบ reverse flow เครื่องกำเนิดไอน้ำ
การศึกษานี้พิจารณาถึงอิทธิพลต่างๆต่อการอบแห้งและคุณภาพข้าวเปลือก * สภาวะในการทดลอง
ประกอบด้วย ความชื้นเริ่มต้น 25-43 % d.b. ความชื้นสุดท้าย 16-28 % d.b. ความสูงเบดข้าวเปลือก 10-15
เซนติเมตร อุณหภูมิไอน้ำร้อนยวดยิ่ง 150-170 องศาเซลเซียส ความดันไอน้ำในระบบอบแห้ง 106.1 kPa พบ
ว่า ความเร็วต่ำสุดของไอน้ำร้อนยวดยิ่งที่ทำให้ข้าวเปลือกเกิดฟลูอิไดซ์เบดมีค่าประมาณ 2.6 m/s อุณหภูมิไอ
น้ำร้อนยวดยิ่งมีอิทธิพลต่ออัตราอบแห้งมากกว่าความสูงเบดข้าวเปลือก ที่ความสูงเบด 10 เซนติเมตร
ความเร็วไอน้ำร้อนยวดยิ่ง 1.3 เท่าของความเร็วต่ำสุดที่เกิดฟลูอิไดซ์เบด อุณหภูมิอินเวอร์ชัน มีค่าต่ำกว่า 150
องศาเซลเซียสเล็กน้อย
ความชื้นหลังการอบแห้งของข้าวเปลือกที่เหมาะสมควรสูงกว่า 18 % d.b. เนื่องจากเปอร์เซ็นต์ต้น
ข้าวจะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อความชื้นสุดท้ายของการอบแห้งต่ำกว่านี้ และการทดสอบเนื้อสัมผัสพบว่าการ
อบแห้งด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่งมีผลทำให้ข้าวสุกร่วนมากขึ้นโดยที่ความแข็งของข้าวสุกยังคงเดิม ข้าวที่อบ
แห้งด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่งมีลักษณะเป็นข้าวนึ่ง
ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราอบแห้งข้าวเปลือกมากที่สุด คือ อุณหภูมิของไอน้ำร้อนยวดยิ่ง ส่วนความสูง
เบดข้าวเปลือก (ระหว่า 10-15 cm) มีผลต่ออัตราอบแห้งน้อย และถ้าความชื้นเริ่มต้นของข้าวเปลือกสูงขึ้น
เมื่อนำไปอบแห้งด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่งจะได้เปอร์เซ็นต์ข้าวท้องไข่ลดลงและเปอร์เซ็นต์ต้นข้าวเพิ่มขึ้น เนื่อง
จาก Degree of Gelatinization ที่เพิ่มขึ้น
* คุณภาพข้าวที่นำมาพิจารณาในการทดสอบนี้ ประกอบด้วย
- เปอร์เซ็นต์ต้นข้าว
- ความขาวของข้าวสาร
- การยอมรับในการบริโภคข้าว
- การยึดเกาะตัว (Stickiness) และความแข็งของข้าวสุก (Hardness)
- ข้าวท้องไข่ (Chalky Grain)