19 กุมภาพันธ์ 2559
ชื่อเรื่อง : ผลของอุณหภูมิและสภาพบรรยากาศดัดแปลงต่อคุณภาพการเก็บรักษาของชมพู่พันธุ์ทับทิมจันท์
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นายสมพร สายกลิ่น
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.ศิริชัย กัลยาณรัตน์ และ อ. ทรงศิลป์ พจน์ชนะชัย
ที่มา : วิทยานิพนธ์เรื่องผลของอุณหภูมิและสภาพบรรยากาศดัดแปลงต่อ คุณภาพการเก็บรักษาของชมพู่พันธุ์ทับทิมจันท์ สายวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพฯ
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพมหานคร
กลุ่มสินค้า : 1513 ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้
เทคโนโลยี : เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
Keyword : ชมพู่ ทับทิมจันท์ อุณหภูมิ บรรยากาศ ฟิล์มพลาสติก
ผลของอุณหภูมิและสภาพบรรยากาศดัดแปลง ต่อคุณภาพการเก็บรักษาของชมพู่พันธุ์ทับทิมจันท์
ชมพู่จัดเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่นิยมบริโภคกันโดยทั่วไป รวมทั้งมีการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศที่สำคัญ เช่นฮ่องกง สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย โดยเฉพาะชมพู่พันธุ์ทับทินจันท์ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในการบริโภคอย่างมาก ด้วยลักษณะของเนื้อผลที่กรอบ ความแน่นเนื้อสูง ผลมีขนาดใหญ่ 6-9 ผลต่อกิโลกรัม อีกทั้งราคาที่สูง คือ 70-80 บาทต่อผล (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2542) จึงคาดว่าการศึกษาวิธีหรือแนวทางการยืดอายุหลังการเก็บเกี่ยวชมพู่พันธุ์ทับทิมจันท์ ซึ่งมีผิวเปลือกที่บาง และมีปริมาณน้ำสูงถึง 90-95% จึงมี โอกาสเสียหายจากรอยช้ำและจุลินทรีย์สามารถเข้าทำลายได้ง่าย
จากการศึกษาพบว่า อุณหภูมิต่ำ มีส่วนช่วยในการชะลอกระบวนการเมทาบอลิซึม (metabolism) กล่าวคือ มีการหายใจที่ลดลง ชะลอการใช้อาหารที่สะสมในผลไม้และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งทาง กายภาพ เคมีและจุลินทรีย์ อีกทั้งการเก็บรักษาในบรรจุภัณฑ์ดัดแปลงบรรยากาศหรือ modified atmosphere packaging (MAP) เช่น การบรรจุในถาดหุ้มฟิล์มพลาสติก การบรรจุในถุงพลาสติก หรือใช้ร่วมกันกับการเคลือบผิวของผลไม้โดยตรง แต่เนื่องจากผลไม้แต่ละชนิด มีความทนทานต่ออุณหภูมิต่ำได้แตกต่างกัน ปริมาณก๊าซบางชนิดที่มากไป อาจส่งเสริมการเจริญของจุลินทรีย์บางชนิด เช่นเดียวกันกับการใช้ฟิล์มพลาสติก ซึ่งต้องคำนึงถึงความหนา ความสามารถในการแลกเปลี่ยนก๊าซต่างๆ และการซึมผ่านของไอน้ำ ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาถึงอุณหภูมิ การเคลือบผิวและฟิล์มพลาสติกที่เหมาะสม ต่อการยืดอายุการเก็บรักษาผลชมพู่ ซึ่งการดำเนินการเพื่อการยืดอายุการเก็บรักษาชมพู่พันธุ์ทับทิมจันท์ที่เหมาะสมมีดังต่อไปนี้
1. วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์
1.1 ชมพู่พันธุ์ทับทิมจันท์ เก็บเกี่ยวหลังดอกบาน 45 วัน ขนาดผลเบอร์ 3 (8-9 ผลต่อกิโลกรัม) ปราศจากตำหนิ ความช้ำ รอยแผลต่างๆ
1.2 สารละลายโพแทสเซียมเมตาไบซัลไฟท์ (potassium metabisulfite) ความเข้มข้น 200 ส่วนในตัว ทำละลายล้านส่วน (ppm)
1.3 สารละลายของ sucrose fatty acid ester (SFAE) ความเข้มข้น 0.5% (น้ำหนักสาร/ปริมาตรน้ำกลั่น)
1.4 ฟิล์มพลาสติกชนิด Linear Low Density Polyethylene (LLDPE) ความหนา 15 ไมโครเมตร
1.5 กล่องพลาสติกชนิด PVC ขนาด 30 x 21 x 11 ซม3
3. สรุปผลการดำเนินการ
การเคลือบผิวชมพู่ด้วยสาร sucrose fatty acid ester ช่วยให้ลักษณะของผิวชมพู่มีความเงา ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค การเคลือบผิวที่ความเข้มข้นของสาร 0.5% เพียงพอต่อการชะลอการสูญเสีย น้ำหนัก ความแน่นเนื้อ และยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์สาเหตุของโรคชมพู่ ในระหว่างการเก็บรักษาได้ดีกว่าที่ความเข้มข้น 1.0 และ 1.5%
และการใช้ฟิล์มพลาสติก LLDPE หนา 15 ไมโครเมตร สามารถลดการเน่าเสีย โดยลดอัตราการหายใจ การสูญเสียน้ำหนัก ความแน่นเนื้อ การเปลี่ยนแปลงสีผิว ยับยั้งการเกิดโรค ตลอดจนผู้บริโภคให้การยอมรับในด้านคุณภาพต่างๆ ซึ่งสูงกว่าชมพู่ที่ใช้ฟิล์ม LLDPE ความหนา 10, 20 และ ฟิล์ม PVC หนา 13 ไมโครเมตร อีกทั้งยังสามารถเก็บรักษาได้นานถึง 25 วัน