19 กุมภาพันธ์ 2559
ชื่อเรื่อง : การสร้างต้นแบบเครื่องขึ้นรูปภาชนะบรรจุจากใบตอง
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : ผช.ศ.กวิน สนธิเพิ่มพูน , ผช.ศ.งามทิพย์ ภู่วโรดม
อาจารย์วิไล สนธิเพิ่มพูน และ อาจารย์ศศิวิมล จิตรากร
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : -
ที่มา : รายงานการวิจัยเรื่อง การสร้างต้นแบบเครื่องขึ้นรูปภาชนะบรรจุ จากใบตอง ทุนอุดหนุนงานวิจัย สาขาวิศวกรรมศาสตร์ (คอมพิวเตอร์ประยุกต์) สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา งบประมาณแผ่นดินประจำปี พ.ศ. 2541
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : ห้องสมุดงานวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วว.)
กลุ่มสินค้า : 1513 ผลิตภัณฑ์จากผักและผลไม้
เทคโนโลยี : เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์
Keyword : ใบตอง ภาชนะ บรรจุภัณฑ์ ย่อยสลาย
การสร้างต้นแบบเครื่องขึ้นรูปภาชนะบรรจุจากใบตอง
เนื่องจากปัญหามลภาวะจากขยะประเภทบรรจุภัณฑ์สังเคราะห์ เช่น โฟม หรือพลาสติก เป็นปัญหาใหญ่ในการกำจัด เนื่องจากการย่อยสลายตามธรรมชาติใช้เวลานานจึงได้มีการรณรงค์การลดใช้พลาสติกและโฟม ในการบรรจุ แต่ได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากความสะดวกสบายในการใช้บรรจุภัณฑ์สังเคราะห์ที่ไม่สามารถทดแทนได้ด้วยวัสดุจากธรรมชาติ ดังนั้นเพื่อเป็นการแบ่งเบาปัญหาดังกล่าว ให้มีความรุนแรงลดลง จึงได้มีการวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์จากวัสดุทางธรรมชาติ โดยเลือกใช้ใบตองซึ่งใช้ในการบรรจุอาหารและอื่นๆมาตั้งแต่อดีต อีกทั้งยังสามารถหาใบตองได้โดยทั่วไปจึงนับว่าเป็นแนวโน้มที่ดี ในการแบ่งเบาปัญหาเนื่องจากขยะประเภทบรรจุภัณฑ์สังเคราะห์ได้ดีอีกทางหนึ่ง
1. วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือ
2. ขั้นตอนการดำเนินงาน
รีดใบตองสดด้วยการนำถุงทรายมาทับบนใบตอง ซึ่งวางอยู่บนเตา-ซีเมนต์ ที่มีความร้อนระดับอุณหภูมิ 1800ซ นาน 30 วินาที จากนั้น ทาด้วยกาวแป้งมันฯและวางใบตองลงทีละชั้น เรียงโดยให้เส้นของใบตองสลับกันแบบตั้งฉากซึ่งกันและกัน ดังแสดงในรูปที่ 2 เป็นจำนวน 7 ชั้น จากนั้น ตั้งผึ่งไว้ให้แห้งที่อุณหภูมิห้อง (ประมาณ 2 ชั่วโมง) ก่อนนำไปอัดขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์รูปถ้วย ที่อุณหภูมิ 65 หรือ 700ซ นาน 60 หรือ 30 วินาที ตามลำดับ ด้วยแรงกดขนาด 6 ตัน และพักชิ้นงานไว้ประมาณ 2 วันก่อนนำไปใช้งาน
3. สรุปผลการดำเนินงาน
จากการศึกษาถึงอุณหภูมิ และระยะเวลาที่ใช้ในการขึ้นรูป พบว่า การอัดขึ้นรูปที่อุณหภูมิ 65 และ 700ซ เป็นระยะเวลา 30 และ 60 วินาที ไม่มีความแตกต่างของค่าความชื้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
จากการทดสอบค่าแรงกดทับ (กิโลกรัม) ของภาชนะบรรจุใบตองที่ลดลง (ชิ้นงาน) ที่ได้ พบว่า เมื่อพักชิ้นงานในอุณหภูมิห้องเป็นเวลา 48 ชั่วโมง ทำให้ค่าแรงกดทับเพิ่มมากขึ้น อาจเนื่องมาจากปริมาณความชื้นของชิ้นงานที่ลดลง ซึ่งจากงานศึกษาก่อนหน้านี้ พบว่าความชื้นที่เหมาะสมของชิ้นงานก่อนการนำไปใช้ ควรอยู่ในช่วง 12-13% จึงเป็นไปได้ว่า ควรทิ้งชิ้นงานไว้ที่อุณหภูมิห้อง นานกว่า 2 วัน ของการนำไปใช้ หรือบรรจุในภาชนะปิดสนิทก่อนนำไปวิเคราะห์คุณลักษณะ
การศึกษาดังกล่าว นับเป็นแนวทางที่ดีในการหันมาให้ความสนใจในการนำวัสดุจากธรรมชาติ มาปรับปรุงให้สามารถนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ซึ่งย่อยสลายตามธรรมชาติได้ง่าย เพื่อทดแทน บรรจุภัณฑ์สังเคราะห์ ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาทางสิ่งแวดล้อม