สวัสดี

การยืดอายุการเก็บรักษาและการรักษาสีผิวของลิ้นจี่

แชร์:
Favorite (38)

19 กุมภาพันธ์ 2559

ชื่อเรื่อง                         : การยืดอายุการเก็บรักษาและการรักษาสีผิวของลิ้นจี่

ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง              : สดศรี เนียมเปรม , จิตตา สาตร์เพ็ชร์ , ศิริพงษ์ พัฒนวิบูลย์ อนวัช   สุวรรณกุล , รุจิรา ดีวัฒนวงศ์ , มานัส แจ่มจำรูญ และชนะ พรหมทอง

คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา         : -

ที่มา                                          : รายงานการวิจัยเรื่อง การยืดอายุการเก็บรักษาและการรักษาสีผิว ของลิ้นจี่ สถาบันวิจัวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม                   : ห้องสมุดงานวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ    กรุงเทพมหานคร

กลุ่มสินค้า                                  : 1513 ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้

เทคโนโลยี                                 : เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว

Keyword                                   : ลิ้นจี่ ยืดอายุการเก็บรักษา สีผิว โอโซน

การยืดอายุการเก็บรักษาและการรักษาสีผิวของลิ้นจี้

ลิ้นจี่ (Litchi chinensis Sonn.) เป็นผลไม้กึ่งร้อน (sub-tropical fruit) ที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศหนาว เช่นภาคเหนือของไทย และด้วยรสชาติที่ดีคือหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม จึงเป็นที่นิยมบริโภคโดยทั่วไป อีกทั้งยังเป็นที่ต้องการของลูกค้าต่างประเทศ ซึ่งผลิตผลส่วนใหญ่กว่า 60% ใช้บริโภคในประเทศ นอกจากนั้นจะถูกส่งออกไปยังฮ่องกง, สาธารณรัฐประชาชนจีน, อินโดนีเซีย รวมถึงประเทศในกลุ่ม ประชาคมยุโรป

แต่ปัญหาที่พบในการส่งออกที่ต้องผ่านการขนส่งเป็นระยะเวลานาน จึงทำให้ประสบปัญหาของการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของลิ้นจี่เช่น สีเปลือกที่เปลี่ยนไปเป็นสีน้ำตาล ซึ่งสามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ภายในระยะเวลาเพียง 24 ชั่วโมง เนื่องจากการสูญเสียความชื้น, การได้รับอุณหภูมิที่สูงเกินไป, การเสื่อมสภาพของผล, การเข้าทำลายของเชื้อโรคและแมลง เป็นต้น ในปัจจุบันการแก้ไขปัญหาดังกล่าวสามารถทำได้โดยการรมด้วยแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) แต่เปลือกของลิ้นจี่ที่ผ่านการรมจะมีสีที่ซีด ไม่เป็นที่ยอมรับของตลาดปลายทางโดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดเอเชีย

1. วัตถุดิบ อุปกรณ์และสารเคมี

  • ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม และฮงฮวย ที่มีคุณภาพดี ตัดขั้วผลให้เหลือประมาณ 3 มิลลิเมตร
  • กล่องกระดาษลูกฟูก
  • เครื่องผลิตโอโซน (O3)
  • เครื่องล้างผลไม้ พัฒนาโดย วว.
  • สารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCl) ความเข้มข้น 4%

 

2. ขั้นตอนการดำเนินงาน

การขัดผิวเปลือก ร่วมกับการใช้น้ำร้อนและสารละลายกรด

นำลิ้นจี่มาขัดเปลือกด้วยเครื่องล้างผลไม้ ซึ่งระหว่างที่เครื่องทำงาน ระบบหัวฉีดจะพ่นน้ำร้อนอุณหภูมิ 500ซ ลงมาตลอดเวลาการล้าง เป็นเวลานาน 1 นาที และนำผลลิ้นจี่ที่ล้างแล้ว แช่ลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก เป็นเวลานาน 4 นาที จากนั้นจึงสะเด็ดน้ำให้แห้ง ก่อนบรรจุลงกล่องลูกฟูก และเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 50

การจุ่มน้ำร้อนร่วมกับการใช้กรด

นำลิ้นจี่จุ่มลงในน้ำร้อนอุณหภูมิ 950ซ นาน 3 วินาที จากนั้นจึงแช่ในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก เป็นเวลานาน 4 นาที จากนั้นจึงสะเด็ดน้ำให้แห้งก่อนบรรจุลงกล่องลูกฟูก และเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 50

การแช่น้ำโอโซน

แช่ผลลิ้นจี่ในน้ำที่ได้รับโอโซนความเข้มข้น 100 มิลลิกรัม/ชั่วโมง นาน 15 นาที จากนั้นจึงสะเด็ดน้ำให้แห้ง ก่อนบรรจุลงกล่องลูกฟูก และเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 50

3. สรุปผลการดำเนินงาน

จากการทดลอง สามารถสรุปผลได้ดังแสดงในตารางต่อไปนี้

หมายเหตุ : * เก็บที่อุณหภูมิ 50

จากผลการทดลอง พบว่า การแช่ลิ้นจี่ในน้ำที่ได้รับโอโซน ความเข้มข้น 100 มิลลิกรัม/ชั่วโมง เป็นเวลานาน 15 นาที มีความสามารถในการยืดอายุลิ้นจี่ทั้งพันธุ์ค่อมและฮงฮวยได้นานที่สุด จากการเปรียบเทียบทั้ง 3 การทดลอง ถึง 4 สัปดาห์ ซึ่งเพียงพอสำหรับการขนส่งลิ้นจี่ ไปยังตลาดในต่างประเทศ อีกทั้งไม่พบเชื้อราในลิ้นจี่ทั้งสองพันธุ์ จึงนับเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ในการปรับปรุงคุณภาพของลิ้นจี่ ก่อนการขนส่งสู่ตลาดในต่างประเทศ โดยที่ผลิตผล ยังมีลักษณะที่ดีและเป็นที่ยอมรับของตลาด

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3122
โทรสาร : 02-4228527