สวัสดี

Hot issue

“ตลาดโกโก้ไทยเติบโต! กระแสรักสุขภาพหนุนผู้บริโภคเพิ่มขึ้นในปี 2567

ธันวาคม 2567

รายละเอียด :

ปัจจุบันชาวไทยมีการบริโภคโกโก้เฉลี่ยคนละ 0.64 กิโลกรัมต่อปี และมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยผลิตภัณฑ์โกโก้/ช็อกโกแลตที่วางจำหน่ายในประเทศไทยจะเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทขนมหวาน (Confectionery) และเครื่องดื่มผงชงร้อน (Hot powder drink) ซึ่งในปี 2567 ประมาณการว่ามีปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์โกโก้/ช็อกโกแลตในประเทศไทย 10,478.3 ตัน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากปีก่อน หลังจากภาวะเศษฐกิจที่ซบเซาและวิกฤตการระบาดของโรค COVID-19 ในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากต้องระมัดระวังในการจ่ายใช้จ่ายสินค้าที่ไม่จำเป็น เช่น ผลิตภัณฑ์โกโก้/ช็อกโกแลต อย่างไรก็ดี จากกระแสตื่นตัวเรื่องคุณประโยชน์ของสารสำคัญในโกโก้ที่มีการพูดถึงในเรื่องช่วยลดความเครียดและช่วยให้นอนหลับได้ดี ประกอบกับความนิยมของอาหารที่ผลิตจากพืช (Plant-based) ได้กระตุ้นให้ผู้บริโภคมีความต้องการผลิตภัณฑ์โกโก้/ช็อกโกแลตมากขึ้น

ผลิตภัณฑ์โกโก้/ช็อกโกแลตที่วางจำหน่ายในประเทศไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม และกลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย (Personal care products) โดยการใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ที่ได้จากกรรมวิธีการแปรรูปข้างต้น ดังนี้

ผลิตภัณฑ์โกโก้/ช็อกโกแลตในประเทศไทยส่วนใหญ่มีการจัดจำหน่ายผ่านช่องทางร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern grocery) ประเภทร้านสะดวกซื้อ ไฮเปอร์มาร์เก็ต และซูเปอร์มาร์เก็ต คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 42 22 และ 10 ของมูลค่าการค้าปลีกผลิตภัณฑ์โกโก้/ช็อกโกแลตทั้งหมดในตลาดไทย ตามลำดับ โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2563 – 2567) พบว่า ช่องทางการค้าแบบออฟไลน์ โดยเฉพาะไฮเปอร์มาร์เก็ต และซูเปอร์มาร์เก็ต เริ่มสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับช่องทางการค้าแบบออนไลน์ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยผู้ประกอบการหลายรายเลือกใช้ช่องทางดังกล่าวควรคู่กับการจำหน่ายแบบ In-store เพื่อขยายช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้เพิ่มมากขึ้น

 

ในปี 2568 คาดว่า ตลาดผลิตภัณฑ์โกโก้/ช็อกโกแลตของไทยจะมีมูลค่า 9,162.1 ล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 5.3 จากปีก่อน แบ่งเป็นขนมหวาน (Confectionery) มูลค่า 8,399.1 ล้านบาท และเครื่องดื่มผงชงร้อน (Hot powder drink) มูลค่า 300.1 ล้านบาท โดยคาดว่าตลาดผลิตภัณฑ์โกโก้/ช็อกโกแลตของไทยจะมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย ร้อยละ 5.6 ต่อปี ในช่วงที่คาดการณ์ (ปี 2568 – 2571) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาพลักษณ์สินค้าที่สื่อว่าเป็นสินค้าที่มีโภชนาการทางอาหารที่ดี โดยเฉพาะเครื่องดื่มโกโก้/ช็อกโกแลตชนิดผงชงร้อนซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้บริโภคสูงอายุและผู้ที่มีปัญหาด้านการนอนหลับ รวมถึงผู้ที่ต้องการเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ

 

ข้อเสนอแนะในการเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์โกโก้/ช็อกโกแลตของไทย

  1. พัฒนาสายพันธุ์และผลผลิตโกโก้ที่มีคุณภาพมาตรฐาน โดยผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์โกโก้/ช็อกโกแลตของไทยควรร่วมกับเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้และสถาบันการศึกษาวิจัยเพื่อยกระดับการเพาะปลูกโกโก้ในประเทศให้มีคุณภาพสูงและมีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคหรือการใช้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
  2. พัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูป โดยเฉพาะกระบวนการหมัก (Fermentation) และการคั่ว (Roasting) เพื่อให้ได้กลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของช็อกโกแลตไทย โดยผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์โกโก้/ช็อกโกแลตของไทยควรร่วมกับสถาบันการศึกษาวิจัยในการวิจัยหา
  3. สร้างความพรีเมียมและเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์โกโก้/ช็อกโกแลต เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ เช่น คราฟต์ช็อกโกแลต (Craft chocolate) ช็อกโกแลตออร์แกนิก (Chocolate organics) ช็อกโกแลตแบบ Single origin ที่มีส่วนผสมของเมล็ดคาเคา (Cacao beans) และน้ำตาลเท่านั้น ช็อกโกแลตแบบ Bean to Bar หรือ Tree to Bar ซึ่งผู้ผลิตจะดำเนินการผลิตตั้งแต่การซื้อเมล็ดตากแห้งมาคั่วเองหรือตั้งแต่การเพาะปลูกจนถึงการขึ้นรูปเป็นแท่งช็อกโกแลตด้วยตัวเอง ทำให้มีกลิ่นและรสชาติที่แตกต่างกันไปตามแหล่งเพาะปลูก
  4. ขยายช่องทางการจำหน่ายสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงของผู้บริโภคให้มากขึ้น
    และสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มจะปรับรูปแบบการจับจ่ายซื้อสินค้าผ่านร้านค้าออนไลน์

 

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101