มกราคม 2561
ขณะที่กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มเสริมสุขภาพ (Functional Foods and Drink) เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากอาหารเกษตรอินทรีย์และมีอัตราเติบโตที่ต่ำกว่า โดยในปี 2560 มีผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มเสริมสุขภาพออกวางจำหน่ายในตลาดโลกจำนวน 17,396 รายการ เติบโตเฉลี่ย 4.3% ต่อปีในช่วง 5 ปีหลัง ซึ่งตัวอย่างอาหารและเครื่องดื่มเสริมสุขภาพ อย่างโยเกิร์ต ซีเรียล ซุปไก่สกัด น้ำผลไม้ จัดเป็นกลุ่มสินค้าหลักในตลาดโภชนเภสัช (Nutraceutical) เนื่องจากเป็นอาหารที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงในการส่งเสริมสุขภาพด้านต่างๆ เพิ่มเติมจากคุณประโยชน์ทางโภชนาการทั่วไป จึงสามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพของตนเอง ขณะที่อาหารทางการแพทย์ (Medical Foods) และอาหารกลุ่มที่ผลิตขึ้นมาใหม่ทางนวัตกรรม (Novel Foods) มีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับสองกลุ่มแรก เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์กลุ่มใหม่ที่พัฒนาและแยกตัวออกมาจากอาหารแบบเดิม ทำให้มีความอ่อนไหวต่อการกล่าวอ้างทางสุขภาพ (Health Claim) รวมทั้งการกล่าวอ้างความใหม่ในเชิงนวัตกรรม
โอกาสในบริบทของประเทศไทย
หากพิจารณาจากองค์ประกอบด้านศักยภาพและความพร้อมของผู้ประกอบการไทยควบคู่กับโอกาสทางธุรกิจจากแนวโน้มตลาดโลก จะพบว่าในช่วงแรกประเทศไทยควรมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจของผู้ประกอบการไปสู่อาหารอนาคต 2 กลุ่มหลักก่อน ได้แก่ ตลาดอาหารเกษตรอินทรีย์ และกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มเสริมสุขภาพ กล่าวคือ
ตลาดอาหารเกษตรอินทรีย์ (Organic Foods) เป็นตลาดอาหารอนาคตที่ผู้ประกอบการไทยสามารถพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจเพื่อขยายตลาดดังกล่าวได้ หากก้าวผ่านอุปสรรคความเพียงพอด้านวัตถุดิบและการขอการรับรอง โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการไทยสามารถผลิตสินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์เพื่อวางจำหน่ายในท้องตลาดได้สูงถึง 565 รายการ (Items) เติบโตเฉลี่ย 46% ต่อปี โดยมีสินค้าสำคัญ อาทิ ข้าว ชาพร้อมดื่ม เครื่องดื่มสมุนไพร โยเกิร์ต น้ำผลไม้ นมพร้อมดื่ม และธัญพืชอบกรอบ เป็นต้นโอกาสในบริบทของประเทศไทย
download PDF ย้อนกลับ