สวัสดี

Hot issue

วิกฤติอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์บราซิล...ผลกระทบต่อไทย

มีนาคม 2560

รายละเอียด :

บราซิลเผชิญวิกฤตการณ์จากปัญหาเรื่อง "คุณภาพผลิตภัณฑ์" หรือ Food safety อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจของบราซิลสืบสวนพบว่า ผู้ผลิตเนื้อสัตว์แช่แข็งรายใหญ่ในบราซิลได้ติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ตรวจสอบคุณภาพอาหาร เพื่อให้รับรองผลิตภัณฑ์เน่าเสียเหล่านั้นว่าผ่านมาตรฐานสำหรับการบริโภค ทำให้สามารถส่งออกเนื้อสัตว์ที่เน่าเสียและปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียนานหลายปี โดยภายหลังจากการลงพื้นที่ตรวจสอบของเจ้าหน้าที่พบว่า มีบริษัทยักษ์ใหญ่ในการส่งออกเนื้อวัวหลายรายได้ละเมิดข้อกำหนดด้านสุขอนามัย โดยมีกระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้เจ้าหน้าที่สั่งปิดโรงงานดังกล่าว และมีโรงงานอีกหลายแห่งถูกระงับการส่งออกชั่วคราวเพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ นั่นจึงเป็นเหตุให้หลายประเทศทั่วโลกประกาศระงับการนำเข้าเนื้อสัตว์แช่แข็งจากบราซิลเป็นการชั่วคราว ภาวการณ์ดังกล่าวคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดเนื้อสัตว์ของโลกรวมถึงประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะบราซิลเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกเนื้อสัตว์รายใหญ่ของโลกและเป็นประเทศคู่แข่งของไทยอีกด้วย

 

อิทธิพลของบราซิลที่มีต่อตลาดเนื้อสัตว์โลก


ปัจจุบันบราซิลเป็นประเทศผู้ส่งออกเนื้อสัตว์ในอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐฯ โดยมีส่วนแบ่งตลาดโลกราว 13.4% ซึ่งในปี 2559 บราซิลส่งออกเนื้อสัตว์ราว 6.58 ล้านตัน ทำรายได้เข้าประเทศสูงถึง 14,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเนื้อสัตว์ส่งออกของบราซิล ประกอบด้วย เนื้อไก่ 4.13 ล้านตัน มูลค่า 6,760 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่งออกได้มากเป็นอันดับ 1 ของโลก มีส่วนแบ่งตลาด 26.8% มีสัดส่วนส่งออกราว 48% ของมูลค่าเนื้อสัตว์ส่งออกทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ เนื้อวัว มีปริมาณส่งออก 1.18 ล้านตัน มูลค่า 4,920 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่งออกได้มากเป็นอันดับ 2 ของโลก มีสัดส่วนส่งออกราว 35% ของมูลค่าเนื้อสัตว์ส่งออกทั้งหมด อันดับที่ 3 คือ เนื้อหมู ปริมาณส่งออก 0.34 ล้านตัน มูลค่า 1,470 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่งออกได้มากเป็นอันดับ 8 ของโลก มีสัดส่วนส่งออกราว 11% ของมูลค่าเนื้อสัตว์ส่งออกทั้งหมด

ปัจจัยสนับสนุนสำคัญที่ทำให้เนื้อสัตว์จากบราซิลสามารถแข่งขันได้ดีในตลาดโลกโดยเฉพาะอุตสาหกรรมไก่ มาจากราคาสินค้าที่ไม่แพง เนื่องจากบราซิลสามารถผลิตพืชอาหารสัตว์ได้มาก ไม่ว่าจะเป็นถั่วเหลือง ข้าวสาลี ข้าวโพด จึงทำให้มีต้นทุนการผลิตต่ำ รวมทั้งผู้นำเข้ามั่นใจในคุณภาพสินค้าเนื้อสัตว์จากบราซิล เพราะมีระบบการผลิตที่เป็นไปตามมาตรฐานตลอดสายโซ่อุปทาน ตั้งแต่ระบบการเพาะเลี้ยงในโรงเรือนปิด มีกระบวนการแปรรูปสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ รวมถึงการควบคุมคุณภาพความปลอดภัยที่เข้มงวด กลายเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ทำให้บราซิลสามารถขยายตลาดเนื้อสัตว์ไปได้ทุกมุมโลก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศมุสลิมที่เนื้อสัตว์จากบราซิลครองตลาดได้เป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันตลาดส่งออกเนื้อสัตว์แหล่งใหญ่ของบราซิลอยู่ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก 30.9%, ตะวันออกกลาง 22.1%, สหภาพยุโรป 12.7%, แอฟริกา 9.6% และอาเซียน 3.6% เป็นต้น

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527