พฤษภาคม 2559
นายกรัฐมนตรีอังกฤษ นายเดวิด แคเมอรอน ได้กำหนดให้วันที่ 23 มิถุนายน 2559 เป็นวันลงประชามติของประชาชนสหราชอาณาจักร ว่าควรจะยังคงเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (Remain) หรือถอนตัวจากสหภาพยุโรป (Brexit) ความเป็นไปได้ของทางออกทั้งสองทางมีพอๆ กัน เมื่อพิจารณาจากผลการสำรวจ (Poll) ล่าสุดที่ฝ่าย Remain มีคะแนนร้อยละ 46 นำฝ่าย Brexit ที่มีคะแนนร้อยละ 43 อยู่เพียงเล็กน้อย ซึ่งตัวแปรสำคัญของการลงประชามติครั้งนี้อยู่ที่กลุ่มที่ยังไม่ได้ตัดสินใจที่มีสัดส่วนร้อยละ 11 หากดูจากแนวโน้มผลการสำรวจตลอดระยะ 8 เดือนที่ผ่านมา มีโอกาสไม่น้อยที่ฝ่ายสนับสนุนให้ถอนตัวจากสหภาพยุโรป (Brexit) จะเป็นฝ่ายชนะการลงประชามติ
ปัจจุบันโลกเข้าสู่ยุคการค้าเสรี ทำให้สินค้าและบริการ ปัจจัยการผลิต รวมทั้งเงินทุน สามารถเคลื่อนย้ายกันได้อย่างรวดเร็วและไร้พรมแดน การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ของประเทศหนึ่งมีผลกระทบต่อประเทศในอีกฟากหนึ่งของโลกได้อย่างไม่น่าเชื่อ เช่นเดียวกับผลกระทบหากผลการลงประชามติออกมาว่าฝ่ายสนับสนุนให้สหราชอาณาจักรควรออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) เป็นฝ่ายชนะ ซึ่งภาวการณ์ดังกล่าวสร้างความหวั่นวิตกถึงผลกระทบไปทุกมุมโลก อุตสาหกรรมอาหารของไทยก็เป็นหนึ่งในห่วงโซ่การผลิตโลก จึงหลีกเลี่ยงผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ยาก แม้ว่าสหราชอาณาจักรกับประเทศไทยจะอยู่ห่างกันครึ่งโลกก็ตาม ซึ่งผลกระทบจะเป็นไปในทิศทางใดและมากน้อยเพียงใดนั้นจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ภายใต้สมมติฐานและข้อมูลจริงที่มีอยู่ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้เตรียมมาตรการรับมือได้อย่างทันท่วงที
บทวิเคราะห์นี้แบ่งออกเป็น 2 ตอน โดยในตอนแรกจะนำเสนอภาพรวมความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักร รวมถึงผลกระทบ Brexit ต่ออุตสาหกรรมอาหารในระยะสั้น ส่วนตอนที่ 2 จะนำเสนอบทวิเคราะห์ผลกระทบในระยะยาวที่เกิดขึ้นหากกระบวนการในการถอนตัวแล้วเสร็จ
download PDF ย้อนกลับ