สวัสดี

Hot issue

แผนพัฒนาเศรษฐกิจเศรษฐกิจแห่งชาติ 5 ปี ฉบับที่ 13 ของจีน จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมอาหารไทยอย่างไร

ธันวาคม 2558

รายละเอียด :

10 นโยบายสำคัญจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติของจีน ฉบับที่ 13
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 Mr.Ning Jizhe รองผู้อานวยการคณะกรรมการว่าด้วยการปฏิรูปและพัฒนาแห่งชาติของจีน (China’s Reform and Development Commission) ได้แถลงในที่ประชุม The International Finance Forum ณ กรุงปักกิ่ง เพื่อสรุป 10 ไฮไลต์หลัก ซึ่งจะเป็นพิมพ์เขียวที่ใช้กำหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจีน

 

1. รักษาระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับปานกลาง-สูง ประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ของจีนได้แถลงว่า เศรษฐกิจจีนควรจะเติบโตที่ระดับไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6.5 ต่อปี ระหว่างช่วงปี 2016-2020 และรายได้ต่อหัว (GDP per Capita) ของชาวจีนจะต้องเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในปี 2020
2. เน้นการเติบโตเชิงคุณภาพ จีนจะปรับเปลี่ยนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยอาศัยการลงทุน (investment-driven) สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยอาศัยการบริโภค (consumption-driven) ซึ่งผลจากการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ทาให้ปัจจุบันการเติบโต GDP มีสัดส่วนมาจากการบริโภคภายในประเทศมากกว่าร้อยละ 50 ซึ่งธุรกิจภาคบริการถือเป็นธุรกิจหลักที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีน
3. ผลักดันโครงการและนโยบายใหม่ๆ จีนได้ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย พัฒนาอุตสาหกรรมแขนงใหม่ ในปี 2015 รัฐบาลจีนได้ออกนโยบายที่สำคัญคือ Made in China 2025 ซึ่งเป็นพิมพ์เขียวที่ชี้นำทิศทางการยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตภายในประเทศจีน โดยอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
4. รัฐบาลจีนเพิ่มการจัดสรรงบประมาณไปยังภาคการบริการสาธารณะมากขึ้น ได้แก่ การลงทุนในด้านการศึกษา สาธารณสุข สุขอนามัย สิ่งแวดล้อม โครงสร้างพื้นฐาน
5. เสริมสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศในระดับภูมิภาค แผนพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศโดยเน้นพัฒนาหลายพื้นที่ ได้แก่ พื้นที่รอบกรุงปักกิ่ง พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้าแยงซี พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (Free Trade Zone) โดยในระดับภูมิภาคจีนได้ออกแผนพัฒนาเส้นทางสายไหมใหม่ หรือ One Belt One Road เพื่อยกระดับความร่วมมือกับประเทศต่างๆ
6. ขจัดความยากจนและยกระดับรายได้ของชาวจีนที่มีรายได้ต่ำ ปัจจุบันมีชาวจีนจำนวนกว่า 70 ล้านคนที่มีรายได้ต่ำกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อวัน โดยจีนมีเป้าหมายที่จะเพิ่มรายได้ของประชาชน  นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังมีแผนที่จะลงทุนเพิ่มเติมในส่วนของการพัฒนาสวัสดิการสังคม เพื่อลดช่องว่างทางรายได้ระหว่างประชาชนในเขตเมืองและเขตชนบท
7. จีนจะมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว จีนได้ยกประเด็นเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เป็นหนึ่งในวาระสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับล่าสุด โดยจีนจะดำเนินการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ ได้แก่ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พัฒนาพลังงานทางเลือก และพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว เป็นต้น
8. กระตุ้นให้ประชาชนจับจ่ายมากขึ้น การเติบโตของ GDP จีนในปี 2557 การบริโภคภายในประเทศคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 50.2 ซึ่งการบริโภคภายในประเทศจีนยังถือว่ามีช่องว่างในการเติบโตอยู่ เนื่องจากประเทศจีนมีอัตราการออมเงินสูงมาก โดยในปี 2557 จีนมีเงินออมในระบบธนาคารสูงกว่า 1.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งจีนมีอัตราการออมสูงเป็น 2-3 เท่าของประเทศสหรัฐอเมริกา
9. จีนจะผลักดันประชาชนที่อาศัยในเมืองให้มีใบสำมะโนครัวที่ถูกต้องตามกฎหมาย รัฐบาลจะออกนโยบายผ่อนปรนให้แรงงานพลัดถิ่นที่อาศัยในเขตเมือง สามารถขึ้นบัญชีสำมะโนครัวในเขตเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมายได้ โดยเชื่อว่านโยบายดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายของประชาชนมากขึ้น
10. ประเทศจีนจะเปิดกว้างรับความเป็นสากลมากขึ้น รัฐบาลจีนจะออกนโนบายกระตุ้นการนำเข้าสินค้าและบริการจากต่างประเทศ รวมถึงกระตุ้นการใช้จ่ายของชาวจีนที่ออกไปท่องเที่ยวในต่างประเทศ ทั้งนี้ รัฐบาลจีนยังมีการออกนโยบายกระตุ้นการลงทุนในต่างประเทศอีกด้วย

การค้าอาหารระหว่างไทย-จีน

มูลค่าการส่งออกสินค้าอาหารของไทยไปจีนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราค่อนข้างสูงเฉลี่ยร้อยละ 16.5 ต่อปี  ในปี 2558 มูลค่าส่งออกเท่ากับ 78,391.51 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2549 ที่มีมูลค่าเพียง 23,359.75 ล้านบาท โดยตลาดจีนนั้นทวีความสำคัญกับการส่งออกอาหารของไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเมื่อพิจารณาจากสัดส่วนมูลค่าส่งออกเทียบกับมูลค่าส่งออกอาหารทั้งหมด  พบว่าในปี 2549 ตลาดจีนมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 4.46 เพิ่มขึ้นเป็น 8.68 ในปี 2558 จีนกลายมาเป็นตลาดส่งออกอาหารอันดับ 3 ของไทย

สินค้าส่งออกไปจีนที่สำคัญ เช่น สตาร์ชจากมันสำปะหลัง ข้าวชนิดต่างๆ แป้งข้าว ทุเรียน ลำไย มังคุด และน้ำตาลทรายขณะที่ด้านมูลค่านำเข้าอาหารจากจีน ก็มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงเช่นกัน มีอัตราเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 18.35 ต่อปี มูลค่านำเข้าในปี 2558 เท่ากับ 50,605.65 ล้านบาท ทั้งนี้ จีนเป็นแหล่งนำเข้าวัตถุดิบและอาหารที่มีสัดส่วนถึงร้อยละ 14.66 ของมูลค่านำเข้าอาหารทั้งหมดของไทย โดยร้อยละ 30 เป็นการนำเข้าผลไม้สดจำพวกแอ้ปเปิ้ล ส้มแมนดาริน องุ่น แพร์ และผลไม้สดเมืองหนาวอื่นๆ อีกร้อยละ 10.11 นำเข้าหมึกกล้วยแช่แข็ง  ร้อยละ 8.24 นำเข้าปลาแช่แข็ง ต่างๆ เช่น ทูน่า ซาร์ดีน แม็คเคอเรล

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101