สวัสดี

Quarterly Situation

อุตสาหกรรมอาหารไทย ไตรมาสที่ 4/2567 และแนวโน้มปี 2568

กุมภาพันธ์ 2568

รายละเอียด :

การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2567 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากความต้องการสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้น เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร หลังจากหลายประเทศเผชิญสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้ผลผลิตสินค้าเกษตรลดลง ต้องพึ่งพิงการนำเข้าอาหารจากต่างประเทศ สถานการณ์ดังกล่าว ทำให้ภาพรวมการผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยขยายตัวในไตรมาสสุดท้ายของปี 2567

 

อุตสาหกรรมรายสาขาที่มีการผลิตปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ผักผลไม้แช่เเข็ง (+51.6%), ปลาทูน่ากระป๋อง (+37.3%), น้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายบริสุทธิ์ (+20.6%), นมพร้อมดื่ม (+10.3%), เนื้อไก่แช่เเข็งและเเช่เย็น (+6.1%), บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (+5.6%) และกะทิ (+1.1%) กลุ่มสินค้าที่ขยายตัวดีส่วนใหญ่มีวัตถุดิบที่เอื้ออำนวยต่อภาคการผลิตและการแปรรูป ขณะที่วัตถุดิหลักปลาทูน่าแช่เเข็งที่อ่อนตัวลงส่งผลดีต่อการผลิตปลาทูน่ากระป๋อง และอาหารสัตว์เลี้ยง ส่วนอุตสาหกรรมรายสาขาที่มีการผลิตหดตัวลง อาทิ ข้าวโพดหวานกระป๋อง (-32.6%), กุ้งแช่เเข็ง (-11.4%), กาแฟปรุงสำเร็จชนิดผง (-9.5%) , แป้งมันสำปะหลัง (-1.9%) และเครื่องปรุงรสประจำโต๊ะอาหาร (-1.3%) เป็นต้น

 

ภาพรวมการส่งออกอาหารไทย ปี 2568 คาดว่าจะมีมูลค่า 1,750,000 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากสถานการณ์วัตถุดิบปรับตัวดีขึ้นกว่าปีก่อน ทั้งผลผลิตมันปะหลัง อ้อย สับปะรด และมะพร้าว ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นส่งผลดีช่วยให้ผู้ผลิตสามารถจัดหาค่าวัตถุดิบได้อย่างต่อเนื่อง ค่าเงินบาทผันผวนแต่ยังอยู่ในกรอบที่เอื้อต่ออุตสาหกรรมอาหาร โดยแนวโน้มเงินบาท ในปี 2568 จะเคลื่อนไหวในช่วง 33-35 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ แข็งค่าในครึ่งปีแรกและคาดว่าจะอ่อนค่าในครึ่งปีหลังตามทิศทางดอกเบี้ยขาลงของสหรัฐฯ ประกอบกับผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพในการพัฒนาสินค้าที่มีความหลากหลาย ราคาเหมาะสม มีคุณภาพและความปลอดภัย สามารถตอบสนองความต้องการของประเทศคู่ค้าทั่วโลก

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101