สวัสดี

Quarterly Situation

อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 3 และแนวโน้มไตรมาสที่ 4 ปี 2567

ตุลาคม 2567

รายละเอียด :

การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2567 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยได้รับแรงหนุนจากการเติบโตของการส่งออกอาหารไทยไปยังตลาดต่างประเทศตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มสินค้าอาหารสำหรับการสต็อกสินค้าในช่วงเทศกาลปลายปี โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียและยุโรป รวมถึงการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคการท่องเที่ยว ทำให้ภาพรวมการผลิตอุตสาหกรรมอาหารของไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2567 ขยายตัวดีขึ้น

การส่งออกสินค้าอาหารไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 มีมูลค่า 426,948 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 โดยมีกลุ่มสินค้าที่การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาหารพร้อมรับประทาน (+46.6%), มะพร้าว (+37.1%), อาหารสัตว์เลี้ยง (+33.9%), กุ้ง (+31.1%), ข้าว (+28.3% ), อาหารอนาคต (+19.8%), ปลาทูน่ากระป๋อง (+14.3%) และไก่ (+11.3%) กลุ่มสินค้าหลายรายการมีการส่งออกเพิ่มขึ้น เพราะได้รับแรงหนุนมาจากสถานการณ์เงินเฟ้อที่ทยอยคลี่คลายลง ความต้องการสินค้าอาหารไทยในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงแนวโน้มการลดลงของอัตราค่าระวางเรือในเส้นทางการค้าสําคัญมีส่วนช่วยลดต้นทุนและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคา 

 

แนวโน้มการส่งออกอาหารไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2567 คาดว่าจะมีมูลค่า 370,620 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามความต้องการสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้นในตลาดโลก และสถานการณ์เงินเฟ้อที่เริ่มคลี่คลาย ทำให้กำลังซื้อของประเทศคู่ค้าปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าหลักในตลาดตะวันออกกลาง สหรัฐอเมริกา และจีน ซึ่งมีปริมาณคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101