สวัสดี

Quarterly Situation

อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2562 และแนวโน้ม

พฤษภาคม 2562

รายละเอียด :

1.การผลิต

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2562 หดตัวลงร้อยละ 0.2 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 69.7 ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับร้อยละ 70.0 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ปัจจัยที่ส่งผลให้ภาคการผลิตโดยรวมลดต่ำลง เนื่องจาก

  • สภาพอากาศที่ร้อนทำให้ปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรหลายรายการเข้าสู่โรงงานแปรรูปน้อย โดยเฉพาะอ้อย สับปะรด ข้าวโพดหวาน และผลไม้เมืองร้อนอื่นๆ
  • การส่งออกชะลอตัวจากการที่เงินบาทแข็งค่า กระทบต่อราคาส่งออกสินค้าอาหารของไทยให้มีราคาสูงขึ้นในสายตาผู้ซื้อ ประกอบกับการค้าโลกชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ส่งผล
    ทำให้ผู้นำเข้าระมัดระวังในการซื้อสินค้า
  • สินค้าอาหารไทยหลายรายการเผชิญกับภาวะการแข่งขันในตลาดโลกที่รุนแรง เนื่องมาจากความต้องการสินค้าในตลาดขยายตัวไม่ทันกับปริมาณผลผลิตสินค้าอาหารที่ผลิตออกสู่ตลาด

2. วัตถุดิบทางการเกษตรและราคา

อุตสาหกรรมอาหารของไทยใช้วัตถุดิบทางการเกษตรในการแปรรูปสินค้าที่ได้มาจาก 2 ส่วน คือ ผลผลิตในประเทศ และการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยปริมาณวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศ
มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามการขยายตัวของภาคการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร รวมทั้งชดเชยปริมาณวัตถุดิบ
ในประเทศที่ไม่เพียงพอในแต่ละห้วงเวลา ขณะที่แนวโน้มปริมาณผลผลิตทางการเกษตรในประเทศค่อนข้างผันผวนตามสภาพดินฟ้าอากาศ รวมทั้งอิทธิพลด้านราคาสินค้าเกษตรแต่ละชนิด ประกอบกับเนื้อที่และ
การยกระดับผลิตภาพการผลิตที่ทำได้ค่อนข้างจำกัด ส่งผลทำให้ผลผลิตโดยรวมขยายตัวได้ไม่มากนัก

สถานการณ์วัตถุดิบในประเทศ

สภาพอากาศที่ร้อนจัดในช่วงต้นปีและการปรับเปลี่ยนหมุนเวียนพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกร ส่งผลทำให้ปริมาณวัตถุดิบสินค้าเกษตรสำคัญโดยรวมของไทยหดตัวลงร้อยละ 7.4 ปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรหลักที่ลดลง ได้แก่ อ้อย (-14.0%), สับปะรดโรงงาน (-27.0%) และกุ้งข้าวแวนนาไม (-3.3%)

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3122
โทรสาร : 02-4228527