สวัสดี

Quarterly Situation

อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 2 แนวโน้มไตรมาสที่ 3 และภาพรวมปี 2560

กันยายน 2560

รายละเอียด :

1. อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2560
อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ตามการขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกสินค้าอาหารที่ขยายตัวได้อย่างโดดเด่น โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 48.7 

เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 48.4 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การบริโภคภายในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ขยายตัวในระดับเดียวกับไตรมาสก่อนหน้า ด้านการส่งออกสินค้าอาหารไทยโดยรวมในรูปเงินบาทมีมูลค่า 260,101 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 ส่วนการส่งออกในรูปดอลลาร์มีมูลค่า 7,585 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 
 
ปัจจัยสนับสนุนสำคัญในภาพรวมที่ส่งผลทำให้อุตสาหกรรมอาหารไทยในไตรมาสที่ 2/2560 ขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความต้องการสินค้าในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น หลังจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญเริ่มฟื้นตัว โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น รวมถึงจีน ขณะที่เศรษฐกิจและการค้าในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกาก็เริ่มปรับตัวดีขึ้น ทำให้มีความต้องการสินค้าอาหารขยายตัวตามไปด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าข้าว อาหารทะเล และผักผลไม้กระป๋อง ประกอบกับปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากฝนชุกตั้งแต่ต้นปี ส่งผลทำให้โรงงานมีวัตถุดิบเพียงพอในการแปรรูปส่งออก นอกจากนี้ การที่ประเทศผู้ผลิตและบริโภคอาหารรายสำคัญของโลกประสบภัยธรรมชาติ ทำให้ผลผลิตสินค้าเกษตรอาหารลดลง หลายประเทศจึงเกรงว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น จึงเริ่มมีการนำเข้าสินค้าเพื่อสำรองไว้สำหรับบริโภค อย่างไรก็ตาม การส่งออกอาหารไทยได้รับความกดดันจากอัตราแลกเปลี่ยนบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น ทำให้รายได้ในรูปเงินบาทของผู้ประกอบการลดลง
 
 
แหล่งที่มา: 1/ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมจะไม่มีโรงงานสีข้าวในกลุ่มตัวอย่าง
               2/ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
               3/ กระทรวงพาณิชย์
 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3122
โทรสาร : 02-4228527