มกราคม 2554
รายงานสถานการณ์อุตสาหกรรมอาหารไทยรายเดือน
สรุปการค้าอาหารเดือน มกราคม –พฤศจิกายน 2553
บทสรุป
ภาวะการลงทุนในอุตสาหกรรมอาหาร ช่วงเดือน มกราคม – พฤศจิกายน 2553 มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ การส่งเสริมจำนวนทั้งสิ้น 63 โครงการ เงินลงทุนรวม 13,005 ล้านบาท และมีการจ้างงานรวม 15,942 คน โดยภาวะการลงทุนในเดือนพฤศจิกายน 2553 มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติจำนวน 7 โครงการ เงิยลงทุนมูลค่า 803 ล้านบาท และมีการจ้างงงานเพิ่มขึ้นจำนวน 1,320 คน
จำนวนผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตและเริ่มกิจการในเดือนธันวาคม 2553 มีจำนวน 11 โรงงาน ใช้เงินลงทุนมูลค่า 157 ล้านบาท และมีการจ้างงานเพิ่ม 121 คน ส่วนผู้ประกอบธุรกิจที่ขอเลิกกิจการมีจำนวนโรงงาน 3 โรงงานเงินลงทุนที่ใช้ไปมีมูลค่า 46 ล้านบาท และเลิกจ้างงานจำนวน 40 คน โดยร้อยละ 95.00 เลิกจ้างงานในเขตจังหวัดนครนายก
ภาวะการผลิตโดยรวมของอุตสาหกรรมในเดือน พฤศจิกายน 2553 ขยายตัวเพิ่มขึ้น อัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 56.78 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.34 ตามกลุ่มสินค้าเกษตรและแปรรูป ส่วนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 140.36 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 4.34 ตามการส่งออกที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มสินค้าดังกล่าวเพื่อชดเชยผลผลิตที่ลดลง
รายงานสถานการณ์อุตสาหกรรมอาหารไทยรายเดือน
สรุปการค้าอาหารเดือน มกราคม –พฤศจิกายน 2553
บทสรุป
ภาวะการลงทุนในอุตสาหกรรมอาหาร ช่วงเดือน มกราคม – พฤศจิกายน 2553 มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ การส่งเสริมจำนวนทั้งสิ้น 63 โครงการ เงินลงทุนรวม 13,005 ล้านบาท และมีการจ้างงานรวม 15,942 คน โดยภาวะการลงทุนในเดือนพฤศจิกายน 2553 มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติจำนวน 7 โครงการ เงิยลงทุนมูลค่า 803 ล้านบาท และมีการจ้างงงานเพิ่มขึ้นจำนวน 1,320 คน
จำนวนผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตและเริ่มกิจการในเดือนธันวาคม 2553 มีจำนวน 11 โรงงาน ใช้เงินลงทุนมูลค่า 157 ล้านบาท และมีการจ้างงานเพิ่ม 121 คน ส่วนผู้ประกอบธุรกิจที่ขอเลิกกิจการมีจำนวนโรงงาน 3 โรงงานเงินลงทุนที่ใช้ไปมีมูลค่า 46 ล้านบาท และเลิกจ้างงานจำนวน 40 คน โดยร้อยละ 95.00 เลิกจ้างงานในเขตจังหวัดนครนายก
ภาวะการผลิตโดยรวมของอุตสาหกรรมในเดือน พฤศจิกายน 2553 ขยายตัวเพิ่มขึ้น อัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 56.78 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.34 ตามกลุ่มสินค้าเกษตรและแปรรูป ส่วนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 140.36 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 4.34 ตามการส่งออกที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มสินค้าดังกล่าวเพื่อชดเชยผลผลิตที่ลดลง
มูลค่าการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารในช่วงเดือนมกราคม – พฦศจิกายน 2553 มีมูลค่ารวม 239,844 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.53 โดยในเดือน พ.ย. 53 มีมูลค่านำเข้ารวม 23,602 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.82 เนื่องด้วยผู้ผลิตได้นำเข้าวัตถุดิบเพื่อแปรรูปเพิ่มขึ้น ตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ปลาทะเล อื่น ๆ แช่แข็ง, ถั่วเหลือง และปลาสลิดแจ๊กแช่แข็ง
มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารในช่วงเดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2553 มีมูลค่ารวม 732,680 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.55 ล้านบาท โดยในเดือน พ.ย. 53 มีมูลค่าส่งออกรวม 68,492 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.35 จากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี ทำให้มูลค่าการส่งออกปรับเพิ่มขึ้นในกลุ่มสินค้าที่สำคัญ ได้แก่ น้ำตาลทราย, ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 2 และปลาทูน่ากระป๋อง
คำสั่งซื้อที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงปลายปี ทำให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกของไทยต้องนำเข้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นเพื่อนำมาแปรรูปให้ทันกบความต้องการที่มี แต่จากระดับราคาวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นนั้น ทำให้ผู้นำเข้าวัถุดิบและผู้บริโภคต้องแบกรับภาระราคาวัตถุดิบและราคาสินค้าขั้นสุดท้าย ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคภายในประเทศและผู้ส่งออกสินค้าไปต่างประเทศให้ต้องทบทวนราคามากยิ่งขึ้น
download PDF ย้อนกลับ