สวัสดี

Monthly Situation

รายงานสถานการณ์อุตสาหกรรมอาหารไทยประจำเดือนสิงหาคม 2557

สิงหาคม 2557

รายละเอียด :

รายงานสถานการณ์อุตสาหกรรมอาหารไทยรายเดือน

  สิงหาคม  2557


ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหารและ เครื่องดื่ม

          อัตราการใช้กําลังการผลิตของอุตสาหกรรม อาหารและเครื่องดื่ม ภาพรวม 2 ไตรมาส ปี 2557 หดตัวลงร้อยละ 8.5 ขณะที่เดือนมิถุนายน มีอัตรา หดตัวจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.90  โดยเฉพาะการผลิตปลาซาร์ดีนกระป๋อง ทูน่ากระป๋อง ไอศกรีม น้ําปลา มีอัตราการใช้กําลังการผลิตลดลง มากกว่าร้อยละ 20 โดยปลาซาร์ดีนนั้นมาจากปัญหา วัตถุดิบที่ขาดแคลน ส่วนทูน่ากระป๋องมาจากราคา สกิปแจ็คทูน่ามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากมาตรการ หยุดจับปลา 3 เดือน ตั้งแต่ ก.ค. ในมหาสมุทรแปซิฟิกกลางและตะวันตก และปริมาณทูน่าที่จับได้ลดลงใน มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกและมหาสมุทรอินเดีย ผนวกกับความต้องการทูน่ากระป๋องของสหรัฐอเมริกาที่ยัง ชะลอตัว ทําให้ราคาขายค่อนข้างต่ํา สอดคล้องกับดัชนีการส่งสินค้าของทูน่ากระป๋องที่ชะลอตัวลงและดัชนี สินค้าสําเร็จรูปคงคลังที่ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปี ที่แล้ว

 

รายงานสถานการณ์อุตสาหกรรมอาหารไทยรายเดือน

  สิงหาคม  2557


ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหารและ เครื่องดื่ม

          อัตราการใช้กําลังการผลิตของอุตสาหกรรม อาหารและเครื่องดื่ม ภาพรวม 2 ไตรมาส ปี 2557 หดตัวลงร้อยละ 8.5 ขณะที่เดือนมิถุนายน มีอัตรา หดตัวจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.90  โดยเฉพาะการผลิตปลาซาร์ดีนกระป๋อง ทูน่ากระป๋อง ไอศกรีม น้ําปลา มีอัตราการใช้กําลังการผลิตลดลง มากกว่าร้อยละ 20 โดยปลาซาร์ดีนนั้นมาจากปัญหา วัตถุดิบที่ขาดแคลน ส่วนทูน่ากระป๋องมาจากราคา สกิปแจ็คทูน่ามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากมาตรการ หยุดจับปลา 3 เดือน ตั้งแต่ ก.ค. ในมหาสมุทรแปซิฟิกกลางและตะวันตก และปริมาณทูน่าที่จับได้ลดลงใน มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกและมหาสมุทรอินเดีย ผนวกกับความต้องการทูน่ากระป๋องของสหรัฐอเมริกาที่ยัง ชะลอตัว ทําให้ราคาขายค่อนข้างต่ํา สอดคล้องกับดัชนีการส่งสินค้าของทูน่ากระป๋องที่ชะลอตัวลงและดัชนี สินค้าสําเร็จรูปคงคลังที่ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปี ที่แล้ว

          ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(ถ่วงน้ําหนัก มูลค่าเพิ่ม) ของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มใน เดือนมิถุนายน 2557 มีอัตราลดลงร้อยละ 4.52 โดย สินค้าส่งออกที่สําคัญที่มีปริมาณผลผลิตลดลงเมื่อ เทียบกับเดือนเดียวกันปีที่ผ่านมา อาทิ ทูน่ากระป๋อง ปลาซาร์ดีนกระป๋อง กุ้งแช่แข็ง สับปะรดกระป๋อง น้ําตาล ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความต้องการของตลาด ที่ชะลอตัวลง สะท้อนจากดัชนีการส่งสินค้าที่มี แนวโน้มลดลงด้วย สําหรับสินค้าที่ดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ที่แล้ว ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ผลิตเพื่อจําหน่ายใน ประเทศ เช่น ไส้กรอก ลูกชิ้นหมู น้ํามันถั่วเหลือง น้ํามันปาล์ม นมพร้อมดื่ม ไอศกรีม เวเฟอร์ คุกกี้ เค้ก เป็นต้น เนื่องจากตลาดในประเทศที่มีความเชื่อมั่นในการบริโภคมากขึ้นหลังสถานการณ์การเมืองคลี่คลาย ส่วนกลุ่มที่มีดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลผลผลิต เช่น ข้าวโพด ฝักอ่อนกระป๋อง ผักผลไม้อบแห้ง หมึกแช่แข็ง ดัชนีราคาสินค้าอาหารแปรรูปที่ผู้ผลิตได้รับหรือราคาสินค้าหน้าโรงงานผู้ผลิต (Ex-factory)  ในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 มีราคาลดลงร้อยละ 6.7 โดยราคามีแนวโน้มชะลอตัวลงตลอดช่วง 5-6 ไตรมาสที่ผ่าน มา ตามทิศทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่ํา ทําให้ผู้ประกอบการชะลอการปรับขึ้นราคาสินค้า สําหรับภาพรวม 6 เดือนแรกปี 2557 ราคาผู้ผลิตยังคงลดลงร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101