กรกฎาคม 2567
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารของไทยเดือนพฤษภาคม 2567 ขยายตัวร้อยละ 2.9 มีอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 52.5 ขยายตัวจากร้อยละ 51.1 ในเดือนเดียวกันของปีก่อน การขยายตัวของภาคการผลิตมีปัจจัยสำคัญจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลก ตามความต้องการของตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น ขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรบางรายการเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นเดือนที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมาก และได้รับอานิสงส์ราคาปลาทูน่าที่อยู่ในระดับต่ำส่งผลดีต่อการผลิต โดยกลุ่มสินค้าหลักที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ แป้งมันสำปะหลัง (+31.4%), ปลาทูน่ากระป๋อง (+21.1%), กะทิ (+16.8%) ,เนื้อไก่ปรุงสุก (+4.2%) และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (+2.3%) ส่วนกลุ่มสินค้าหลักที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ น้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายบริสุทธิ์ (-11.9%), เนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น (-5.8%) เป็นต้น
การบริโภคในประเทศเดือนพฤษภาคม 2567 เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของราคาข้าวที่เป็นสินค้าจำเป็นมีความต้องการเพื่อสร้าง ความมั่นคงทางอาหารในตลาดโลก ทำให้ราคาข้าวในประเทศปรับตัวสูงขึ้น ร้อยละ 4.2 นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มสินค้าอีกกลุ่มอาหารสำคัญอีกกลุ่มที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นกดดันการบริโภคภายในประเทศ คือ กลุ่มไข่ และผลิตภัณฑ์นม เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 กลุ่มผลไม้สดและแปรรูปอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 โดยปัจจัยที่ส่งผลทำให้ราคาสินค้าในกลุ่มนี้ปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจาก
การส่งออกสินค้าอาหารไทยเดือนพฤษภาคม 2567 มีมูลค่า 176,645 บาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.3 (%YoY) โดยได้รับแรงหนุนแรงหนุนจากต้นทุนการผลิตที่อ่อนตัวลง ตามราคาวัตถุดิบโดยเฉพาะในกลุ่มสัตว์น้ำ จำพวกปลาทูน่า และการส่งออกสินค้าทางเกษตรที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ได้แก่ แป้งมันสำปะหลัง และผลิตภัณฑ์มะพร้าว ทำให้ภาพรวมการส่งออกอาหารขยายตัวสูงขึ้น ส่วนกลุ่มสินค้าส่งออกหลักที่มูลค่าการส่งออกหดตัวลง ได้แก่ น้ำตาลทราย และกุ้ง โดยผลผลิตน้ำตาลทราย ในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นตามผลผลิตของประเทศบราซิลกดดันราคาส่งผล ทำให้ราคาน้ำตาลทรายลดลง
การส่งออกอาหารมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากประเทศคู่ค้าที่กังวลเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ทำให้สินค้าจำเป็นมีราคาปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกข้าวของไทย รวมถึงต้นทุนวัตถุดิบในกลุ่มอาหารทะเลแปรรูปและอาหารสัตว์เลี้ยงที่อ่อนตัวลงซึ่งความต้องการปลาทูน่ากระป๋องในกลุ่ม OEM มีแนวโน้มโดดเด่นเพราะได้รับประโยชน์จากราคาขายลดต่ำลงตามต้นทุนวัตถุดิบภายใต้นโยบาย (Cost plus) ที่ผู้ผลิตใช้ในการกำหนดราคาสินค้าจะส่งผลทําให้ปริมาณคําสั่งซื้อของลูกค้ามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น สำหรับสินค้าเกษตร เนื่องจากผลผลิตได้ออกสู่ตลาด ในปริมาณมากในเดือนพฤษภาคม คาดว่าการส่งออกสินค้าทางเกษตรจะลดลงในช่วงเวลาต่อมา
download PDF ย้อนกลับ