สวัสดี

Monthly Situation

สรุปภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทย เดือนกุมภาพันธ์ และแนวโน้มการส่งออกและสัญญาณเตือนภัย เดือนมีนาคม 2567

เมษายน 2567

รายละเอียด :

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารของไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2567 หดตัวร้อยละ 0.3 มีอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 58.3 ต่ำกว่าร้อยละ 58.5 ในเดือนเดียวกันของปีก่อน การหดตัวของภาคการผลิตมีสาเหตุสำคัญจากความต้องการสินค้าที่ชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจของคู่ค้าหลักที่ยังคงเผชิญกับแรงกดดันเงินเฟ้อ และการลดลงของปริมาณวัตถุดิบการเกษตรที่เกิดจากภัยแล้ง  โดยกลุ่มสินค้าหลักที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ สับปะรดกระป๋อง (-11.0%), เนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น (-7.1%), เนื้อไก่ปรุงสุก (-6.4%) และกุ้งแช่แข็ง (-5.9%) ขณะที่กลุ่มสินค้าอาหารที่การผลิตมีการขยายตัว ได้แก่ ปลาซาร์ดีนกระป๋อง (+14.4%) และแป้งมันสำปะหลัง (+12.8%) โดยผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดมากขึ้น แต่ยังมีปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการจึงส่งผลทำให้ผู้ประกอบการมีการนำเข้าแป้งมันสำปะหลังจากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปได้หลายอุตสาหกรรม

การบริโภคในประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ชะลอลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยราคาอาหารในภาพรวมที่หดตัวร้อยละ 0.9 มีส่วนช่วยรักษาระดับกำลังซื้อของผู้บริโภคไม่ให้หดตัวลงมาก โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มีราคาลดลงและส่งผลดีต่อผู้บริโภค ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ ที่หดตัวร้อยละ 6.4 กลุ่มผักและผลไม้ หดตัวร้อยละ 3.1 ส่วนกลุ่มสินค้าอาหารที่มีราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ กลุ่มข้าว, กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำตาล, กลุ่มไข่ และผลิตภัณฑ์นม เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ร้อยละ 3.5 และร้อยละ 2.9 ตามลำดับ ขณะที่ราคาสินค้าในกลุ่มผลไม้สดแปรรูปและอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3  โดยมีความต้องการผลไม้สดในการส่งออกไปยังต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีนเพิ่มสูงมากขึ้น ทำให้ราคาผลไม้ภายในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น

 

การส่งออกสินค้าอาหารไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีมูลค่า 119,349 บาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 (%YoY)    ตามความต้องการสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศที่กังวลเรื่องความมั่นคงอาหาร โดยเฉพาะอาเซียนและ ตะวันออกกลาง รวมถึงผลกระทบที่เกิดจากภัยแล้งในหลายประเทศทั่วโลกกังวล ในส่วนของประเทศไทย แม้ผลผลิตวัตถุดิบการเกษตรของไทยหลายรายการจะลดลง แต่สินค้าส่งออกไทยได้รับประโยชน์จากความต้องการและราคาตลาดที่ปรับตัวสูงขึ้นจากสถานการณ์ดังกล่าว โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว, ไก่ และแป้งมันสําปะหลัง ซึ่งผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังส่วนใหญ่ส่งออกไปตลาดจีน

 

การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากภาคการผลิตเพื่อจําหน่ายในประเทศและอุตสาหกรรมการผลิตที่เน้นการส่งออก โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากเศรษฐกิจในประเทศกําลังพัฒนาและตลาดเกิดใหม่ที่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งตามภาคบริการและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แต่ยังมีความไม่แน่นอนจากเศรษฐกิจของจีนที่ฟื้นตัวล่าช้าเป็นปัจจัยกดดันการบริโภคสินค้า อย่างไรก็ตาม การส่งออกอาหารไทยได้รับประโยชน์จากการที่ประเทศคู่ค้ากังวลเรื่องความมั่นคงทางอาหาร โดยมีกลุ่มสินค้าจำเป็นที่คาดว่าจะขยายตัว ได้แก่ ข้าว, อาหารพร้อมรับประทาน และเครื่องปรุงรส

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101