สวัสดี

Monthly Situation

สรุปภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทย เดือนพฤษภาคม 2565

มิถุนายน 2565

รายละเอียด :

การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนพฤษภาคม 2565 หดตัวร้อยละ -1.7 มีอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 51.5 หดตัวจากอัตราร้อยละ 52.2  ในเดือนเดียวกันของปีก่อน การหดตัวของภาคการผลิตมีสาเหตุหลักจากการชะลอการบริโภคภายในประเทศจากปัญหาราคาสินค้าและพลังงานที่เพิ่มขึ้นเป็นหลัก ประกอบกับสินค้าส่งออกบางชนิด อาทิ น้ำตาลทราย มีการสั่งซื้อจำนวนมากในช่วงก่อน ส่งผลให้ผู้นำเข้ามีการชะลอคำสั่งซื้อในปัจจุบัน โดยกลุ่มสินค้าที่มีการผลิตขยายตัวได้แก่  ผักผลไม้แช่แข็ง (41.1%), แป้งมันสำปะหลัง (+27.6%), สับปะรดกระป๋อง (+16.7%), ผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรส (+12.3%), บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (+8.0%) และน้ำตาลทรายขาว (+1.1%) ส่วนกลุ่มสินค้าหลักที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ (-23.3%), กุ้งแช่แข็ง (-17.7%), เนื้อไก่ปรุงสุก (-2.1%) และกะทิ (-0.6%) เป็นต้น

ราคาอาหารเดือนพฤษภาคม 2565  ขยายตัวร้อยละ 6.2  ตามการสูงขึ้นของราคาเกือบทุกกลุ่มสินค้ายกเว้น กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง โดยสินค้าที่มีระดับราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ และอาหารทะเล ร้อยละ 10.4 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร ไก่สด และกุ้งขาว กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 9.4 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ นมสด และนมถั่วเหลือง กลุ่มผักสด ร้อยละ 3.7 กลุ่มผลไม้สด ร้อยละ 1.4 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร ร้อยละ 10.4 และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 2.2 ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าที่มีระดับราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ร้อยละ -3.6 โดยลดลงจากราคาข้าวสารเจ้าและข้าวเหนียว ร้อยละ 2.8

การส่งออกสินค้าอาหารไทยเดือนพฤษภาคม 2565 มีมูลค่า 142,824 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.8 จากความต้องการสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากหลายประเทศมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19  อานิสงส์จากราคาสินค้าอาหารส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก รวมถึง เงินบาทที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ การส่งออกไปประเทศจีน มีอัตราการขยายตัวฟื้นตัวจากเดือนก่อน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลาย ทำให้ภาครัฐเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดในหลายพื้นที่

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101