พฤษภาคม 2565
การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนเมษายน 2565 หดตัวตัวร้อยละ 4.3 มีอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 48.4 ขยายตัวจากอัตราร้อยละ 50.0 ในเดือนเดียวกันของปีก่อน การหดตัวของภาคการผลิตมีสาเหตุหลักจากการชะลอการบริโภคภายในประเทศจากปัญหาราคาสินค้าและพลังงานที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับสินค้าส่งออกบางชนิด อาทิ น้ำตาลทราย มีการสั่งซื้อจำนวนมากในช่วงก่อน ส่งผลให้ผู้นำเข้ามีการชะลอคำสั่งซื้อในปัจจุบัน โดยกลุ่มสินค้าที่มีการผลิตขยายตัวได้แก่ ผักผลไม้แช่แข็ง (46.0%), กะทิ (+24.9%), ซาร์ดีนกระป๋อง (18.6%), แป้งมันสำปะหลัง (13.5%), บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (5.5%) และเนื้อไก่ปรุงสุก (4.2%) ส่วนกลุ่มสินค้าหลักที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ น้ำตาลทรายขาว (-41.7%), ข้าวโพดหวานกระป๋อง (-38.1%), น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ (-20.5%), กุ้งแช่แข็ง (-10.8%), เนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น (-6.7%), สับปะรดกระป๋อง (-6.3%) และ ทูน่ากระป๋อง (-2.2%) เป็นต้น
ราคาอาหารเดือนเมษายน 2565 ขยายตัวร้อยละ 4.8 ตามการสูงขึ้นของราคาเกือบทุกกลุ่มสินค้ายกเว้น กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง และ กลุ่มผลไม้สด โดยสินค้าที่มีระดับราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ และอาหารทะเล ร้อยละ 6.9 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร ไก่สด และกุ้งขาว กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 9.9 จากการ สูงขึ้นของราคาไข่ไก่ นมสด และนมถั่วเหลือง กลุ่มผัดสด ร้อยละ 1.1 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร ร้อยละ 9.1 และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 1.8 ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าที่มีระดับราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ร้อยละ -3.6 โดยลดลงจากราคาข้าวสารเจ้าและข้าวเหนียว และกลุ่มผลไม้สด ร้อยละ -1.1
การส่งออกสินค้าอาหารไทยเดือนเมษายน 2565 มีมูลค่า 114,644 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.2 จากความต้องการสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากหลายประเทศมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 อานิสงlNากราคาสินค้าอาหารส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก รวมถึง เงินบาทที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปประเทศจีน มีอัตราการขยายตัวต่ำลง เนื่องจากทางการจีนมีการใช้มาตรการโควิด-19 ที่เข้มงวด กระทบต่อการขนส่งเพราะมีการปิดเส้นทางการขนส่งตามเมืองที่ประกาศมาตรการ lock-down รวมถึงส่งผลต่อการชะลอตัวของการบริโภคในประเทศ
download PDF ย้อนกลับ